แนวคิดการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติด้วยปรัชญาที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมและสมดุล

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป -
  • รวิช ตาแก้ว
  • เอนก สุวรรณบัณฑิต

คำสำคัญ:

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ประยุกต์ตามภูมิสังคม

บทคัดย่อ

     

งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาด้วยวิธีการทางปรัชญา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง และ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการกำหนดขั้นตอนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติด้วยปรัชญาที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมและสมดุล

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง มุ่งตอบคำถามว่า “มนุษย์ควรดำรงอยู่อย่างไรจึงจะมีความสุขได้” โดยเสนอแนวคิดเพื่อวางรากฐานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางที่นำไปสู่ความสุขที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกขับเคลื่อนความต้องการของประชาชน 2) การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกขับเคลื่อนตามระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกขับเคลื่อนตามความเป็นไทยและความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทย
  2. แนวคิดการกำหนดขั้นตอนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติด้วยปรัชญาที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมและสมดุล พบว่า เป็นแนวทางปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ โดยมีกระบวนการและผลลัพธ์เป็นสิ่งที่สำคัญ กระบวนการคือเรื่องของเจตนาที่ปราศจากอคติ ใช้ปัญญาในการเข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์ถึงผลการกระทำที่เกิดขึ้น ส่วนผลลัพธ์คือเป้าหมายเชิงคุณค่าที่เกิดขึ้นแก่ผู้กระทำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผลของงาน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วย

สำหรับแนวคิดการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติก็คือ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ แบ่งได้ 2 ระดับ คือ 1) การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับมหภาค 2) การนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับจุลภาค เมื่อมุ่งขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่นจะต้องมีแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม คือ (1) สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ (2) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ และ (3) ประยุกต์ตามภูมิสังคม

References

กีรติ บุญเจือ. (2558). “ลักษณะหลังนวยุคในทฤษฎีความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ”. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). “หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญาหลังนวยุค: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธรรมนูญ วิถี, พลตรี. (2559). “แนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ปราโมทย์ หม่อมศิลา. (2561). คุณภาพชีวิตของทหารไทยตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 8(2): 259-66.

รวิช ตาแก้ว (บ.ก.). (2559). ประเทศไทยกับธรรมาภิบาลด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สิริกร อมฤตวาริน และกีรติ บุญเจือ. (2558). “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 8(2): 259-66.

สุดารัตน์ น้อยแรม และกีรติ บุญเจือ. (2561). “พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิลอดุลยเดชกับประโยชน์นิยม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์”. มนุษยสังคมสาร (มมส), 16(3): 21-34.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024