ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ผู้แต่ง

  • ชิตเวทย์ จันทศร สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กลิ่นแก้ว มาตา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • พิจิตรา เกษประดิษฐ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเข้าศึกษา, ปัจจัย, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 100 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำนวน 5 ด้าน เกณฑ์ที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ได้แก่ ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา รองลงมา คือ ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และลำดับสุดท้าย คือ ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม

References

จริญญา ดวงเกิด. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพะเยา. สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

ชัยพร จูผลดี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ประดิษฐ์ มีสุข และทรงธรรม ธีระกุล. (2551). วิกฤตคุณภาพบัณฑิตศึกษากับบทบาทมหาวิทยาลัย. วารสารทักษิณวิชาการ, 51:119 - 143.

ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์ และคณะ. (2559). ความต้องการการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรัฐบาล จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1(11): 75–90.

รจเรข สายคํา และวัฒนา พัดเกตุ. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารนเรศวรวิจัย, ครั้งที่ 13: 1348-1358.

วรินทร รัชโพธิ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1): 429-448.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1): 8-18.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด (ออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://www.mua.go.th/index_mua.html. [17 กรกฎาคม 2563].

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice - Hall.

Reeder, W. William. (1971). Partial theories from the 25 Years Research Program on Directive Factors in Believer and Social Action. New York: Mc Grow Hill.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024