การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คำสำคัญ:
การแก้ปัญหา, การปรับตัว , ทำกิจกรรมบทคัดย่อ
วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อทักษะการแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ระดับชั้นปีที่ศึกษา (ปี1,ปี3) 3. หาข้อเสนอแนะทักษะการแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ชั้นปีที่ 1,3, จำนวน 108 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทักษะการแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย S.D และการทดสอบค่า t
ผลวิจัยพบว่า1.การแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 4 ด้านได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสังคม ด้านอารมณ์แต่ละบุคคล และ ด้านการเข้าร่วมกิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาและการปรับตัวด้านด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีชั้นปีที่แตกต่างกันพบว่านักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่1 และนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่3 มีการแก้ปัญหาและการปรับตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาและการปรับตัวของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ด้านสังคมนักศึกษาต้องการสถานที่พักผ่อน รวมกลุ่มพูดคุยกันเฉพาะชั้นปีอย่างเป็นสัดส่วน ด้านการเรียน อยากให้มีเอกสารประกอบราย วิชาทุกวิชาเพราะนักศึกษายังไม่ชินกับรูปแบบการเรียนในระดับอุดมศึกษา ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ควรลดให้น้อยลง เฉลี่ยให้ชั้นปีอื่นๆทำกิจกรรมบ้าง
References
กรรณิการ์ แสนสุภาและคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.
จิรวัฒน์ วิรังกร. (2548). คัมภีร์ชีวิตนิสิตใหม่, กรุงเทพฯ: โครงการก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ฐิระ ทองเหลือ. (2549). น้องใหม่กับการปรับตัว. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์, 7(4), 67-70.
ดวงแข วิทยาสุนทรวงศ์. (2541). ผลของกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง จังหวัดตรัง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., จิตวิทยา การศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ธีระ มูลธิยะ. (2530). ผลการให้คำปรึกษาแบบโรเจอร์ที่มีต่อการพัฒนาอัตโนมัติด้านการปรับตัวทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์, การศึกษา มหาบัณฑิต, จิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นันทนพ เข็มเพ็ชร. (2561). ความสามารถในการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี. ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), 186-197
พระมหามนตรี สามารถไทย. (2548). การปรับตัวของพระนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัยในส่วนกลาง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ราตรี พงษ์สุวรรณ. (2540). ปัญหาด้านการเรียนของนักศึกษา ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัย รามคำแหง. ปริญญานิพนธ์กศ.ม., จิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา ตันตระบัณฑิตย์. (2548). การศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ศูนย์กลางสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., การอุดมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนคริน
ทรวิโรฒ
อรุณี สุปัญโญ. (2545). การปรับตัวทางสังคมของวัยรุ่นชายในสถานสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล สังกัดกองสงเคราะห์เด็กและวัยรุ่นกรมประชาสงเคราะห์.วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารี เพชรผุด. (2530). มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
Bernard, Harold W. (1960). Mental Health for Classroom. New York: McGraw-Hill Book Company.
Hurlock, Elizabeth. B. (1978). Child Development. Auckland: McGraw-Hall.
Roy, Mayer. (1976). Applying Behavior-Analysis Procedures with Children and Youth. New York : Holt, Rinehart.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.