ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะ การแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิยกานต์ ปานอุไร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุดาพร วิชิตชัยชาคร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุภา สุขวิบูลย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • บุญฤทธิ์ บุญยงมณีรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สกุลรัศม์ จันทร์สืบสาย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ด้วยตนเอง, การแสวงหาความรู้, การศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่กำลังศึกษาในรายวิชา EH 308 นวัตกรรมและภูมิปัญญาในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ในรายวิชา EH 308 นวัตกรรมและภูมิปัญญาในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแบบวัดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ผู้เรียนในกลุ่มทดลองมีทักษะการแสวงหาความรู้ในระดับที่สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองในทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

----------. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

จงจิตร เลิศวัฒนาพร. (2551). การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษประกอบการประเมินตามสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จินดารัตน์ แก้วพิกุล. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นัดดา อังสุโวทัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556, เมษายน - มิถุนายน). STEM Education กับการพัฒนาทักษะใน ศตวรรษที่ 21. นักบริหาร. 2(33): 50 – 56.

มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2547). ร่าง รายงานการติดตามและประเมินสถานภาพการปฏิรูปการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

รุจิรัตน์ รุ่งหัวไผ่. (2549). การศึกษาความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรชัย สุทธไชย. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศและทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม. สารนิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545, มีนาคม). เทคนิคและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2557). แนวโน้มการศึกษาไทย: การสอนในปัจจุบันและอนาคตสำหรับครูมืออาชีพ. ในองอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัยสถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). พลังการเรียนรู้ : ในกระบวนทัศน์ใหม่. นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้ง.

สรวงพร กุศลส่ง. (2561). การพัฒนารูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 20 (2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2561: 61 - 72

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนเชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

Bellancy,James & Brandit, Ron. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Student learn. Solution Tree Press: Bloomington, In 47404.

Bloom, Banjamin. S.; Kruthwohl, David.R.; & Masia, Bertram B. (1956). Taxonomy of educational Objectives The Classification of Educational Goals. Handbook II: Affective Domain.IIIinois : Longmans.

Walker, G.H. (2002). Concept mapping and curriculum design. Retrieved from http://www.utc.edu/Teaching-Resource-Center/concept.html.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024