แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รุ่งรัตน์ จองบุญ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • บุญเหลือ บุบผามาลา คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, บุคลากร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี ทั้งหมด 188 คน ด้วยการใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี  ตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง  และรายได้ต่อเดือน

ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.48) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมและความมั่นคงในการทำงาน (= 3.70)  รองลงมา คือ ด้านนโยบายและการบริหาร (= 3.67) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากัน คือด้านความก้าวหน้า (= 3.29)  และด้านประโยชน์ตอบแทน  (= 3.29)  การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือน โดยพบว่าบุคลากรที่มีเพศต่างกัน อายุกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน  ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ประเภทตำแหน่งต่างกัน และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีการส่งเสริม และสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่บุคลากรอย่างเพียงพอ 

References

กษิณ รักษา. (2551). แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดาริกา ศรีพระจันทร์ (2553). องค์ประกอบที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

นิพนธ์ พรหมจารี (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ในเขตอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2549). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

วิไลวรรณ ศรีสงคราม. (2547). แรงจูงใจรากฐานในการพัฒนาศักยภาพของบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

ศุภจิรา จันทร์อารักษ์. (2551). ความคิดเห็นของข้าราชการที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023