ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชนกานต์ สุกัลป์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการวิจัยระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม   จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดชนิดแบบเลือกตอบและคำถามปลายเปิดประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือประชาชน กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  มีซื่อในทะเบียนผู้สูงอายุมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  ตามเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เป็นกลุ่มตัวอย่าง 265 คน โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างหมด 265 คน ในปีงบประมาณ ปีพ.ศ. 2564

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม พบว่า มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาผลของแต่ละด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือด้าน ความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านร่างกาย

2. ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สถานที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกในครอบครัว และรายได้ที่ต่างกัน มีคณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม จากแบบสอบถามปลายเปิด ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ แจกยารักษาโรค และตรวจสุขภาพฟรีประจำปีให้แก่ผู้สูงอายุที่บ้าน/จัดสรรเบี้ยยังชีพให้ทั่วถึง เพิ่มอัตราเงินเบี้ยยังชีพ/มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ/ชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์จัดกิจกรรมให้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กัน เข้าวัด ฟังธรรม/ให้มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อการยังชีพโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ/ต้องการเครื่องออกกำลังกาย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2542). คู่มือปฏิญญาผู้สูงอายุไทย.กรุงเทพมหานคร: กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

กฤษณ์ วงศ์เกิด. (2550). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น.

ณัฏฐา ณ ราช. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองหนองปรืออำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงใจ คำคง, (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาวิทยาลัยทักษิณ

มนัญชยา หาเคน. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาวมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม

มนัส สุวรรณ. (ม.ป.ป.). ชนบทกับปัญหาความยากจน : มุมมองเชิงมนุษยนิเวศวิทยา. กรุงเทพมหานคร: กรมการ พัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

World Health Organization. (1993). Global Strategy for Health for All by the Year 2000. Geneva (Health for All) Series No. 6.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an introductory analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row Publishers.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023