การบูรณาการปรัชญาการศึกษาหลังนวยุคเพื่อเสริมสร้างผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระมหาณรณกร ภัทรเมธังกร มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การบรูณาการ, ปรัชญาการศึกษาหลังนวยุค, ผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) ศึกษาปรัชญาการศึกษาหลังนวยุคเพื่อเสริมสร้างผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์ 3) บูรณาการปรัชญาการศึกษาหลังนวยุคเพื่อเสริมสร้างผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบปรัชญาการศึกษาหลังนวยุคเพื่อเสริมสร้างผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญาแบบวิภาษวิธี และแบบมีการหาเหตุผลด้วยการใช้วิจารณญาณ ภายใต้กระบวนการวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและทฤษฎีด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้แก่ การจัดการศึกษา การเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน  การศึกษาในศตวรรษที่ 21  ผลลัพธ์การศึกษาที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ปรัชญาการศึกษาหลังนวยุค ได้แก่ 1) ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม 2) ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม 3) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม 4) ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม 5) พุทธปรัชญาการศึกษา การบูรณาการปรัชญาการศึกษาหลังนวยุคในการแก้ปัญหานักเรียนด้วยการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วยการถ่ายทอดทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ ด้านสารสนเทศด้วยทักษะการวิเคราะห์อย่างรู้เท่าทันสารสนเทศเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและพฤติกรรม เสริมด้วยพุทธปรัชญาการศึกษาด้วยการนำไตรสิกขามาเป็นหลักในการพัฒนา 3 ด้าน กาย จิต ปัญญาและหลักพละ 4 มาพัฒนาเพื่อเสริมทักษะในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ และองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย คือ CCMW Model

References

กำจร ตติยกวี. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. อ้างจาก หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. วันที่ 14 ตุลาคม 2559.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กองพุทธศาสตร์. (2553). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (พ.ศ.2553-2562). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

นิอิบณูรอวี บือราเฮง. (2557). ผลของการสอนแบบบูรณาการด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน สื่อประสม และนวัตกรรมคุณลักษณ์ ศึกษาด้านทักษะทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ศาสนประวัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์.

พิชชาวริน ชนะคุ้ม. (2554). การประเมินผลการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พระครูสมุห์อนุกูล ปานประดิษฐ์. (2558). การจัดการศึกษาสงเคราะห์ธรรมศึกษาของพระสงฆ์ในจังหวัดสงขลา มองผ่านปรัชญาการศึกษาหลังนวยุค. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2561). คู่มือการตรวจสอบและประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามมติคณะรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12. Online: จากhttps://www.ubu.ac.th/web/files_up/80f2017031913062635.pdf สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). การเตรียมความพร้อมเพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

เอกชัย พุทธสอน (2557). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023