การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธี TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ทิวัตถ์ ภูจานงค์ โรงเรียนอนุบาลเขาฉกรรจ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วีระ วงศ์สรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • รสรินทร์ อรอมรรัตน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT, การเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT กับวิธีสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และ กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน ในแต่ละห้องมีนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ เรื่องวันและเวลา และ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT และวิธีสอนแบบปกติ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x?) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธี TGT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธี TGT มีความพึงพอใจโดยรวมมากกว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธี TGTมีความพึงพอใจมากกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติทุกด้าน

References

กุลเชษฐ สุทธิดี. (2554). การใช้กลวิธีการเรียนแบบร่วมมือที่เน้นการแข่งขันกลุ่มเทคนิค TGT เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสำโรงโคกเพชร. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพร ดวงพรกชกร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธานินทร์ เอื้ออภิธร. (2561). https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1525805. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561.

นราวดี จ้อยรุ้ง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์พิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มยุรี เรืองศรีมั่น. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ พริกหวานกราฟฟิค.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice, Englewood Cliff. N.J.: Prentice-Hall.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2020

How to Cite

ภูจานงค์ ท., วงศ์สรรค์ ว., & อรอมรรัตน์ ร. (2020). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธี TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 3(2), 13–20. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/452