การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุ 18? ปี ขึ้นไป ในเขตตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.48, S.D.= 0.63) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการฝึกอบรม (= 3.58, S.D.= 0.71) รองลงมาคือด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (= 3.50, S.D.= 0.74) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการช่วยเหลือส่วนราชการและสังคม (= 3.35, S.D.= 0.83)? ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า อายุและ ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05? ส่วนด้านเพศ อาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีการสนับสนุน การพัฒนา ความรู้และทักษะของพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
References
กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทแกล้ว นุศรีวอ. (2560). ประสิทธิผลในการใช้เครื่องกลในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 7 สกลนคร. เอกสารประกอบการขอประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบาย และแผนเชี่ยวชาญ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
น้อยใจยา แก้ววงษา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลบางซ้าย อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรม. กระทรวงมหาดไทย. (2550). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. 2550 และอนุบัญญัติ. กรุงเทพฯ : สานักมาตรการป้องกันสาธารณภัย.
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรม. กระทรวงมหาดไทย. (2558). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. 2558 และอนุบัญญัติ. กรุงเทพฯ : สานักมาตรการป้องกันสาธารณภัย.
ศูนย์วิจัยทางระบาดวิทยาภัยพิบัติ. (2560). ความสูญเสียจากสาธารณภัยในทวีปเอเชีย. Centre for Research on the Epidemiology of Disasters: CRED, UNISDR.
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรม. (2553). พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : สานักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง.
Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2016). United Nations. Global Assessment Report on Disaster Risk Reduction 2015. New York.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.