พิธีบำรุงขวัญและบำบัดโรคด้วยพิธีผีแถนหรือผีฟ้า ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ วิชญรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ผีฟ้า, การรักษาโรคด้วยความเชื่อ, การบำรุงขวัญ

บทคัดย่อ

         พิธีรําผีแถนหรือผีฟ้า เป็นพิธีการบําบัดรักษาโรคที่ยังคงพบได้ในหลายพื้นที่ของภาคอีสาน พิธีนี้เดิมมีเป้าหมายหลายประการ ได้แก่การบูชาผีแถนหรือผีฟ้าที่ถือเป็นครู ทํานายทายทักและมักใช้ในการรักษาโรคที่รักษาไม่หายหรือไม่ทราบสาเหตุทั้งนี้ความเจ็บป่วยของผู้คนในแต่ละท้องที่นั้นมีความหลากมิติและอาจมีปัจจัยอันหลากหลายประกอบกันได้แก่สภาพความเป็นอยู่อาหาร ภาวะแวดล้อมและภาวะทางจิตใจที่ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันไม่อาจตอบสนองมิติต่างๆ เหล่านี้ได้ทั้งหมด ความเจ็บป่วยบางประการจึงไม่อาจรักษาได้ หรือไม่ทราบสาเหตุของโรคและผู้ป่วยเหล่านี้ก็มักถูกนํากลับมาที่บ้านและรักษาแบบประคับประคองซึ่งบางครั้งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้น พิธีกรรมความเชื่อที่มีอยู่จึงมักถูกนํามาใช้เพื่อหาคําตอบ หรือรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยความเชื่อ ได้แก่การติดต่อสื่อสารกับอํานาจศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ บทความนี้จึงศึกษาบทบาทและพิธีกรรมการรําผีแถนต่อสังคมชุมชน และต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยและครอบครัวเนื่องจากเมื่อไม่สามารถหาคําตอบในการรักษากระแสหลักได้ การหาคําตอบกระแสรองซึ่งเป็นความเชื่อที่ผู้คนรู้สึกใกล้ชิดคุ้นเคยจึงได้ถูกนํามาใช้ในการรักษาหรือต่อรองกับอํานาจที่ผู้คนมองไม่เห็นและไม่สามารถต้านทานได้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในพิธีนี้ก็ไม่สูงนัก และทราบถึงหนทางรักษา ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและมีกําลังใจการบําบัดและดูแลตนเองต่อไปจึงกล่าวได้ว่าพิธีนี้ยังคงมีหน้าที่สําคัญสําหรับชุมชนในการรักษาโรคที่สุดแล้วก็มีความหมายเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้สามารถดํารงอยู่ได้แม้การแพทย์แผนปัจจุบันจะสามารถเข้าถึงชุมชนได้ดีกว่าในอดีตก็ตาม

คำสำคัญ: ผีฟ้า /การรักษาโรคด้วยความเชื่อ/ การบำรุงขวัญ  

References

กฤตยา แสวงเจริญ. (2527). หมอลำผีฟ้า ผู้รักษาพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาคลินิก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จิรภัทร บุตรจันทร์. (2560). สัมภาษณ์. 29 เมษายน.

ฐพัชร์ โคตะ. (2553). การรำผีฟ้าของชาวส่วย บ้านศาลากัลป์พฤกษ์ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อัตลักษณ์ พิธีกรรมและความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองแดง แนวทอง, ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชนน้ำเขียวเรดิโอ และเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร. (2560). สัมภาษณ์. 28 เมษายน.

ธรรมา ชัยทอง. (2560). สัมภาษณ์. 29 เมษายน.

นิรันดร์ ละม้ายศรี. (2533). การรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยการเหยาของชาวไทยโส้. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิออน จิตสุภาพ. (2560). สัมภาษณ์. 30 มีนาคม.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2537). “ผีฟ้า พญาแถน” ชีวิตไทย ชุดบูชาพญาแถน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

เพ็ญจันทร์ ประดับนุช. (2534). สังคมวัฒนธรรมของการใช้สมุนไพร. นครปฐม: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิบูลย์ สำเภาเงิน. (2560). สัมภาษณ์. 30 มีนาคม.

สีลับโกษา. (2560). สัมภาษณ์. 29 เมษายน.

เสรี พงศ์พิศ. (2533). ไสยศาสตร์ในสังคมไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kleinman, A. (1985, May). Interpreting illness experience and clinical meaning: How I see clinically applies anthropology. Medical Authropology Quarterly, 16 (3), 69-71.

Phillips, D. R. (1990). Health and health care in the Third World. New York: John Wiley & Son.

6.พิธีบำรุงขวัญและบำบัดโรคด้วยพิธีผีแถนหรือผีฟ้า ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์-photo

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022

How to Cite

วิชญรัฐ ว. . (2022). พิธีบำรุงขวัญและบำบัดโรคด้วยพิธีผีแถนหรือผีฟ้า ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 12(1), 83–98. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/629