วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2565) อัดแน่นไปด้วยบทความคุณภาพ เริ่มต้นจากบทความแรกของ รวีย์วรรณ จันทร์เกื้อ วัจนกรรมการเชิญชวนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนในรายการ “Foodwork” รายการที่ออกเสาะหาวัตถุดิบจากท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ปรุงอาหาร ออกอากาศทางช่อง Thai PBS บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ถ้อยคำว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลงานของ ฐิญารัตน์ คำเมือง ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการทำงาน ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นิภาพรรณ เจนสันติกุล กับบทความเรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการฝึกสหกิจทางรัฐประศาสนศาสตร์ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่นักศึกษาฝึกสหกิจต้องเผชิญในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คือ สถานประกอบการยกเลิกการรับนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงาน และรูปแบบของการฝึกปฏิบัติงานที่เปลี่ยนไปพระชลญาณมุนี กับบทความเรื่อง พระสงฆ์กับการสร้างสันติภาพ ช่วยให้คำตอบกับเราได้ว่าความขัดแย้ง ความรุนแรงมีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีการใดในการคลี่คลายปมปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้เกิดสันติภาพในที่สุดธงชัย แซ่เจี่ย ทำให้เราได้รู้จักกับพื้นที่ออนไลน์สำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย ที่ชื่อ “อาจารย์ไหวมั้ย” ตลอดจนยังได้ทราบถึงปัญหาที่อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต้องเผชิญในสังคมปัจจุบัน ในบทความ “อาจารย์ไหวมั้ย”: พื้นที่ออนไลน์เพื่อสุขภาวะทางจิตของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยภูมิปัญญาในการรักษาโรคของแต่ละท้องถิ่นมีอัตลักษณ์และความน่าสนใจแตกต่างกันออกไปตามบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ วราภรณ์ วิชญรัฐ ได้นำเสนอภูมิปัญญาในการรักษาโรคของพื้นที่ภาคอีสานที่เรียกว่า พิธีรำผีแถนหรือผีฟ้า ในบทความ พิธีบำรุงขวัญและบำบัดโรคด้วยพิธีผีแถนหรือผีฟ้า ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์เมทินา อิสริยานนท์ และคณะ ทำการถอดบทเรียนสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อหาปัจจัยสำคัญของการเกิดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่ส่งผลให้ชุมชนดังกล่าวเกิดความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ในบทบาทและกลไกการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ณฤภัค อาขวานนท์ ได้สร้างสรรค์งานแสดงออกแบบท่าเต้น ผสมผสานกับท่ารำในนาฏศิลป์ไทย โดยมีที่มาจากเรื่องราว อารมณ์ของนางสำมนักขาหนึ่งในตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ การออกแบบการแสดงนี้ถูกถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือผ่านบทความ เรื่อง เสี้ยวสำมนักขา : การสร้างนาฏกรรมร่วมสมัยจากวรรณคดีไทย

Published: 30-06-2022