การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล เพื่อการติดตามความก้าวหน้างานก่อสร้าง และงานปรับปรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา เคลือบคลาย

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, การจัดเก็บข้อมูล, งานก่อสร้างและงานปรับปรุง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าของงานก่อสร้างและงานปรับปรุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้มีประสิทธิภาพ และ 2) ศึกษาความ  พึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการติดตามความก้าวหน้างานก่อสร้างและ  งานปรับปรุงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ คณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุและผู้ควบคุมงาน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

       1. การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการติดตามความก้าวหนของงานก่อสร้าง และงานปรับปรุงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ระบบสารสนเทศที่ใช้งานกับระบบเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยระบบสารสนเทศนี้มีคุณสมบัติในเรื่องระบบความปลอดภัย เรื่องการบันทึกข้อมูล เรื่องการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล เรื่องการสืบค้นข้อมูล และเรื่องการออกรายงาน

        2. ผลการประเมินความพึงพอใจของการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการติดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างและงานปรับปรุงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความคิดเห็น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90) และมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงความถูกต้อง ครบถ้วน ความสมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูล และปรับปรุงความเหมาะสม ภาพรวมของหน้าจอแสดงผล เพื่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น

References

กชกร เบ้าสุวรรณ, ธนภัทร ปัจฉิม, และสุจิตรา ฉายปัญญา. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุโขทัย.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต,

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุตสาหะ. (2542). การออกแบบฐานข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัท เคทีพีคอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. (2546). คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. เคทีพีคอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ. (2544). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่2). โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สถาบัน

ราชภัฏสวนดุสิต.

เภา โพธิ์เงิน. (2548). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศงานสัสดี กรณีศึกษา สัสดีอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2544). การดำเนินงานอิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยงานรัฐ: บทบาทและความสำคัญในการปฏิรูประบบราชการ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e–

Government). สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.

รัชฎาพร พันธุ์ทวี. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

วรรณศร จันทโสลิด. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจ

บัณฑิตย์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2552). ระบบฐานข้อมูล. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

________. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-01-2025

How to Cite

เคลือบคลาย ป. (2025). การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล เพื่อการติดตามความก้าวหน้างานก่อสร้าง และงานปรับปรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 15(1), 17–32. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/3232