ปริทัศน์หนังสือ “เสรีนิยมกับประชาธิปไตย” ของนอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ
“เสรีนิยมกับประชาธิปไตย” ในมุมมองนักกฎหมาย และการสะท้อนย้อนคิดผ่านงานของนอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่าง “เสรีนิยม” และ “ประชาธิปไตย” ก่อให้เกิดแนวคิด “รัฐเสรีประชาธิปไตย”
ในเวลาต่อมา พัฒนาการของความคิดทั้งสอง ความขัดแย้งและจุดร่วม จนถึงการผสมผสาน จึงมีที่มาอย่างสลับซับซ้อนและยาวนาน อย่างไรก็ตาม ในงานวิชาการทางนิติศาสตร์ โดยเฉพาะสาขากฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองของไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลการศึกษามาจากรัฐเสรีประชาธิปไตยในภาคพื้นยุโรป ไม่ได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรงและโดยละเอียด การศึกษางานของนอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ ในฐานะนักปรัชญากฎหมายมหาชน จึงช่วยให้นักกฎหมายไทยมีความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวมากยิ่งขึ้น งานชิ้นนี้เป็นการศึกษาเอกสาร โดยเริ่มต้นจากการศึกษางานวิชาการทางกฎหมายมหาชนไทยที่อธิบายถึงแนวคิดเสรีประชาธิปไตย หลังจากนั้นได้ย่อยและอธิบายหนังสือของบ๊อบบิโอที่ชื่อ “เสรีนิยมกับประชาธิปไตย” ในลักษณะกึ่งปริทัศน์หนังสือ และจบลงด้วยการวิเคราะห์และอธิบายข้อจำกัดในงานของบ๊อบบิโอดังกล่าว โดยเห็นว่างานดังกล่าวมีลักษณะเป็นนามธรรมและมุ่งหมายให้เป็นสากลใช้ได้โดยทั่วไปตามลักษณะข้อเขียนทางทฤษฎีการเมือง แต่ก็มีจุดอ่อนในการอธิบายระบอบเศรษฐกิจการเมืองตามสภาพความเป็นจริง
References
ไพโรจน์ ชัยนาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2482), 54-55.
เดือน บุนนาค และไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งกฎหมายเลือกตั้งด้วย) ภาค 1 หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติสาส์น, 2477), 33-34.
ไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ เล่ม 1, (กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2495), 70.
นอกจากนี้คำว่า “เศรษฐกิจประชาธิปไตย” ยังปรากฏในคำให้สัมภาษณ์ BBC ภาคภาษาไทย ของท่านปรีดี พนมยงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยท่านได้อธิบายถึง “ความผิดพลาดและความขัดแย้งในหมู่ผู้นำของคณะราษฎร และ แนวทางพัฒนาประเทศไทย โดยสองในนั้นคือ หนึ่ง การพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานของมนุษยสังคมให้เป็น “เศรษฐกิจประชาธิปไตย” โดยเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานของมนุษยสังคมที่มิใช่เศรษฐกิจประชาธิปไตยนั้น ย่อมเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันทำให้ประชาชนอัตขัตขัดสน ซึ่งเป็นการทำให้รากฐานของสังคมระส่ำระส่าย ฉะนั้น มนุษย์ในสังคมต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจประชาธิปไตยได้มากเพียงไร เศรษฐกิจที่เป็นรากฐานก็มั่นคงสมบูรณ์มากขึ้นเพียงนั้น และ สอง พัฒนาการเมืองใน “การเมืองประชาธิปไตย” สมานกับรากฐาน “เศรษฐกิจประชาธิปไตย” โดยการเมืองที่ตั้งอยู่บนความนึกคิดที่เลื่อนลอย ย่อมมีผลสะท้อนกลับไปสู่รากฐานของสังคม ทำให้รากฐานนั้นระส่ำระส่ายและเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ฉะนั้น มนุษย์ในสังคมต้องพัฒนาการเมืองให้ตั้งอยู่บนรากฐานเศรษฐกิจประชาธิปไตยได้มากเพียงไร ก็จะเป็นการเมืองประชาธิปไตยมากขึ้นเพียงนั้น และจะมีผลสะท้อนกลับไปสู่รากฐานเศรษฐกิจของสังคมให้มีความมั่นคงสมบูรณ์มากขึ้นเพียงนั้น” จากคำอธิบายดังกล่าว คำว่า “ประชาธิปไตยทางการเมือง” ของท่านอาจารย์หยุด แสงอุทัย น่าจะมีความหมายเดียวกับคำว่า “การเมืองประชาธิปไตย” ของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ขณะเดียวกัน คำว่า “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ” และคำว่า “เศรษฐกิจประชาธิปไตย” ของท่านอาจารย์ทั้งคู่ น่าจะมีความหมายไม่แตกต่างกันเช่นกัน
หยุด แสงอุทัย, คำบรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2511), 34-45.
สมพงศ์ พลอยสังวาลย์, “การปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตย”, รัฐสภาสาร ปีที่ 2 ฉบับที่ 23 (21 พ.ค.2497), 29-34.
หลวงสุนาวินวิวัฒ, “รัฐสภาในระบอบเสรีประชาธิปไตย”, รัฐสภาสาร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ 10 ธ.ค.2497), 18-19.
เดช เดชประดิยุทธ, “สถาบันสำคัญในระบอบเสรีประชาธิปไตย”, ใน เพิ่งอ้าง, 20-21.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร, การใช้กฎหมายป้องกันคอมมิวนิสต์, (กรุงเทพ: ศูนย์รักษาความปลอดภัย กระทรวงกลาโหม, 2517).
โปรดดู บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพ: วิญญูชน, 2547), 19. และ วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน, (กรุงเทพ: นิติธรรม, 2540) 1. และ สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะ, ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิบัติพันธกิจตามรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพ: วิญญูชน, 2546).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, (กรุงเทพ: อ่านกฎหมาย, 2564), 30-35.
นอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ, เสรีนิยมกับประชาธิปไตย, แปลโดย เกษีตร เตชะพีระ, (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์คบไฟ,2558), 1.
เพิ่งอ้าง, 44.
เพิ่งอ้าง, 47-48.
เพิ่งอ้าง, 45.
เพิ่งอ้าง, 51.
เพิ่งอ้าง, 80.
เพิ่งอ้าง, 113.
Clifford Greertz, “The world in Pieces: Culture and Politics at the End of the Century,” in Available light, Anthropological Reflections on Philosophical Topics (Princeton: Princeton University Press, 2000), p. 218. อ้างใน ไชยยันต์ ไชยพร, ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการเมืองกระแสหลักของ คลิฟฟอร์ด เกียทซ์, (กรุงเทพ: openbooks, 2551), 49.
มีข้อพิจารณาว่า ขณะที่ประเทศอื่นมองว่าลาวเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แต่ทางการลาวใช้คำว่า ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” การช่วงชิงความหมายของประชาธิปไตยนี้ จึงยังมีข้อพิารณาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลจนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 สหราชอาณาจักรมีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 55 คน จบจากออกซ์ฟอร์ด 28 คน จบจากเคมบริดจ์ 14 คน
นอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 12, 131-132.