งานวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา: สะท้อนประสบการณ์เรียนรู้จากครูของฉัน
คำสำคัญ:
งานวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา, การสะท้อนตนเอง, ประสบการณ์เรียนรู้บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา (Autoethnography) จากครูของฉัน ผู้มีความเชี่ยวชาญในระเบียบวิธีวิจัย และมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ผู้เขียนเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ส่งผลต่อการการเปลี่ยนแปลงจากภายในของตนเอง ผลการศึกษา พบว่า งานวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา ไม่ได้เป็นเพียงระเบียบวิธีวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการวิจัย และการเขียนเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ที่เน้นองค์ประกอบทางการวิจัย 3 ด้าน ได้แก่ Auto (ตัวตน) Ethno (การเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม) และ Graphy (กระบวนการวิจัย) ซึ่งช่วยแสดงให้เห็นการเหลื่อมซ้อนของชั้นมโนสำนึก เมื่อบุคคลมีอารมณ์ ความรู้สึก และการกระทำที่ขัดแย้งกัน อันมีสาเหตุมาจากอิทธิพลของความขัดแย้งในชั้นมโนสำนึก 3 ระดับ คือ มโนสำนึกสั่งสม (Pre-consciousness) มโนสำนึกสามัญ (Common consciousness) และจิตใต้สำนึก (Unconsciousness) ลักษณะเด่นของกระบวนการวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา จึงอยู่ที่ความสามารถที่จะเข้าถึงการให้ความหมายแบบคนใน ซึ่งการได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกที่เรากำลังศึกษา จะช่วยให้ผู้วิจัยเข้าถึงข้อมูลบางอย่างได้ดียิ่งขึ้น โดยหัวใจสำคัญของการทำงานวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา คือ การเลือกและเขียนเรื่องเล่า รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัย โดยพิจารณาว่า ข้อมูลที่ได้ครอบคลุมหัวข้อเรื่องที่ต้องการวิจัยและตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้ได้อย่างชัดเจน ข้อมูลที่ได้มีน้ำหนักมากพอที่จะช่วยสื่อสารให้ผู้อ่านที่มีประสบการณ์ร่วม รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่เขียนได้ และมีน้ำหนักพอที่จะดึงความสนใจของผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ร่วม ให้เกิดความสนใจในเนื้อหาของเรื่องได้ ซึ่งการตรวจสอบสามารถทำได้โดยการพูดคุย และค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี หรืองานเขียนของคนอื่น มาศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลที่ได้ มีความชัดเจน น่าเชื่อถือ และสื่อสารกับผู้อ่านได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
References
ทศพร สาริยันต์. (2558 ก). Autoethnography เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 053770 การวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการศึกษาเพื่อการพัฒนา สำหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต วิชาเอกการศึกษาเพื่อการพัฒนา สาขาวิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทศพร สาริยันต์. (2558 ข). วิวัฒนาการของวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีอิทธิพลต่อระเบียบวิธีวิจัย Ethnography และ Auto – ethnography เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 053770 การวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการศึกษาเพื่อการพัฒนา สำหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต วิชาเอกการศึกษาเพื่อการพัฒนา สาขาวิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทศพร สาริยันต์. (2558). อัตชาติพันธุ์วรรณา (Autoethnography). อาคารวันครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Anderson, L. (2006). “Analytic Autoethnography,” Journal of Contemporary Ethnography, 35(4), 373-395.
Baumeister, R. F. (1997). “Identity, Self-Concept, and Self-Esteem: The Self Lost and Found,” Handbook of Personality Psychology, 681-710.
Custer, D. (2014). “Autoethnography as a Transformative Research Method,” The Qualitative Report 2014, 19(1), 1-13.
Ellis, C., & Bochner, A. (2000). “Autoethnography, personal narrative, reflexivity: Researcher as subject,” Handbook of Qualitative Research, London: Sage, 733–768.
Kanagawa, C., Cross, S. E., & Markus, H. R. (2001). “Who Am I? The Cultural Psychology of the Conceptual Self,” Personality and Social Psychology Bulletin, 27(1), 90-103.
Kihlstrom, J. F., Beer, J. S., & Klein, S. B. (2003). “Self and identity as memory,” Handbook of self and identity, New York, US: The Guilford Press, 68-90.
Lewis, M. (1990). “Self-knowledge and social development in early life,” Handbook of personality, New York: Guilford, 277-300.
Morris, R. (1981). “The Self-Concept: Social Product and Social Force,” Social Psychology: Sociological Perspectives, Basic Books, 593–624.
Oyserman, D., & Markus, H. R. (1998). “Self as social representation,” The psychology of the social New York, NY, US: Cambridge University Press, 107-125.
Oyserman, D., Elmore, K. & Smith, G. (2012). “Self, Self-Concept, and Identity,” Handbook of self and identity, The Guilford Press, New York: London, 69-104.
Pelias, R. J. (2003). “The academic tourist: An autoethnography,” Qualitative Inquiry, 9(3), 369-373.
Sariyant, T. (2002). Knowing and Understanding through Auto/Ethnography: Narrative on Transformative Learning Experience of An International Graduate Student (Doctoral dissertation, University of Massachusetts Amherst).
Smith, E. E. (2017). The Power of Meaning: The true route to happiness. Random House.
Wall, S. (2006). “An autoethnography on learning about autoethnography,” International Journal of Qualitative Methods, 5(2), 1-12.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต