การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ด้วยการเล่านิทานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับก่อนชั้นประถมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
บกพร่องทางสติปัญญา, การเล่านิทาน , การเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเชิงเดี่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ด้วยการเล่านิทานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับก่อนชั้นประถมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นการวิจัย เชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเชิงเดี่ยว (Single Subject Design) รูปแบบ A-B-A ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้วยการเล่านิทานกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เรียนอยู่ในระดับก่อนชั้นประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 3 คน อายุ 6-10 ปี ได้รับการวินิจฉัยขั้นต้นว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ที่ 50-70 ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จำนวน 6 แผน หนังสือนิทานประกอบภาพ แบบวัดความสามารถด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้วยการเล่านิทานทั้ง 3 คือระยะ คือระยะเส้นฐาน (A1) ระยะทดลอง (B) ระยะหลังการทดลอง (A2) โดยกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนมีผลการพัฒนาดังนี้
กลุ่มเป้าหมายคนที่ 1 ระยะเส้นฐาน (A1) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 2 คะแนน ระยะทดลอง (B) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 19.10 คะแนน ระยะหลังการทดลอง (A2) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 31.00 คะแนน
กลุ่มเป้าหมายคนที่ 2 ระยะเส้นฐาน (A1) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 1 คะแนน ระยะระหว่างการทดลอง (B) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 18.30 คะแนน ระยะหลังการทดลอง (A2) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 33.60 คะแนน
กลุ่มเป้าหมายคนที่ 3 ระยะเส้นฐาน (A1) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 1 คะแนน ระยะระหว่างการทดลอง (B) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 20.40 คะแนน ระยะหลังการทดลอง (A2) คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 33.40 คะแนน
เมื่อพิจารณาการเล่านิทานพบว่าผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ในระยะหลังการทดลองได้ดีกว่าระยะก่อนการทดลอง
Downloads
References
กมลวรรณ สุคะโต. (2561) การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสติปัญญาด้านการฟังและการพูดภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยการจัดประสบการณ์การเล่านิทาน [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ขนิษฐา บุนนาค. (2565). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์. https://www.youngciety.com/article/journal/kindergarten-math.html
ดวงใจ ทัดมาลา. (2559). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เนตรนภา ช่องงาม. (2560). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้นิทานและวรรณกรรม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
บวร งามศิริอุดม. (2554). การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. http://kanokarpa-ec.blogspot.com/2011/01/blog-post_3469.html
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
บุษกร จันทร์คลัง และสมทรง สิทธิ. (2566) การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับสื่อธรรมชาติ. ม.ป.ท.
ประภัสสร เจนเชี่ยวชาญ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. ค.ม. (หลักสูตรและการเรียนการสอน), มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ประภัสสร บราวน์ และแสงสุรีย์ ดวงคําน้อย. (2564). การพัฒนาความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทาน. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 194-206.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มะยุรา พิมพ์มหา. (2555). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนสำราญสมสนุก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พรชัย ผาดไธสง. (2560). การพัฒนาหลักสูตร. โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.
วันดี ภู่สุวรรณ. (2559). การพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเจริญวัย จังหวัดสมุทรปราการโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การศึกษาและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วิไล มาศจรัส. (2545). เทคนิคการเขียน การเล่านิทานสำหรับเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มิติใหม่.
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด.
สุพัตรา สุขงามเจริญ. (2555). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดชุมพลคีรี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
สุนทรี สมคำ. (2553). การพัฒนาชุดเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง “การจัดประเภท” ระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กองทุนวิจัยสำหรับอาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Goodwin, C. (1995). Co-constructing Meaning in Conversations with an Aphasic Man. Research on Language and Social Interaction, 28(3): 233–260.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต