ความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, การบริหารจัดการหลักสูตร , ผลลัพธ์การเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตด้านประชากร รวมทั้งหมด 116 คน ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน 2) คณะครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ในการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (0.31) มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมาเป็น การดำเนินการบริหารหลักสูตร (0.28) การปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร (0.26) การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร (0.26) การเตรียมความพร้อมสถานศึกษา (0.25) การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล (0.24) ลำดับสุดท้ายคือ การสรุปผลการดำเนินงาน มีค่า PNI น้อยที่สุด (0.19)
Downloads
References
กษมา ชนวงศ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน [วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. ครองช่างพริ้นติ้ง.
ฐิติมา ญาณะวงษา และคณะ. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.
บัณฑิต ทิพากร. (2561). การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามการจัดการศึกษาแบบ Outcome-based Education (OBE) และมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์ [เอกสารประกอบ โครงการอบรม]. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ปรียาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
มานะ สินธุวงษานนท์ และนัฐยา บุญกองแสน. (256ุ6). การจัดทำหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (OBE) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: Implementing an Outcome-based Education (OBE) Curriculum in the Faculty of Education at Vongchavalitkul University. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 470-470.
วลัยพร นุ่มพินิจ. (6 มิถุนายน 2553). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/411153
ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา. (2565, 2 มิถุนายน–5 สิงหาคม 2565). Mastering Outcome-Based Education: พัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ [เอกสารประกอบการฝึกอบรม]. โครงการฝึกอบรม “Mastering Outcome-Based Education: พัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. ฉบับปรับปรุง.บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
Best, John W. (1984). Research in Education. (3 rd edition). New Jersey: Prentice Hall.
Kaliannan, M., & Chandran, S. D. (2012). Empowering Students through Outcome-Based Education (OBE). Research in Education. 87(1), 50-63.
Spady, W. G. (1994). Outcome-based education: Critical issues and answers. Arlington, VA: American Association of School Administrators.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต