ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกระบวนการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ , วิทยาการคำนวณ , การคิดขั้นสูงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน (SEACA 5 Steps) และ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านท่าข้าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง นักแก้ปัญหาดิจิทัล 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดขั้นสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. https://www.kroobannok.com/news_file/p49997621432.pdf
จิราพร ประพัศรานนท์ (2557). การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ (Task-based learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(11), 186–196.
โชคชัย เตโช. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณุรัตน์ แย้มฉาย. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพย์สุดา ทวีสิทธิ์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมสําหรับนักเรียนประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
ปรีชาวัตร์ ไชยนาน. (2563). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูภาษาอังกฤษด้านการสอนภาษาแบบเน้นภาระงานสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 นครพนม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรีญา วงษ์สุวรรณ. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนแสดงความคิดเห็นแบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิรินันท์ เอื้อนไธสงค์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภา.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2562). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุภิชา ฤทธิวงศ์ และอัญชลี ทองเอม. (2561). การพัฒนากิจกรรมแบ่งมุ่งปฏิบัติงาน (Task-based Activities) เพื่อส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Ellis, R. (2003). Task-Based Language Learning and Teaching. Oxford : Oxford. University Press.
Willis, J. (2007). Doing Task-based Teaching. Oxford : Oxford University Press.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต