การศึกษาความสามารถ เรื่อง การคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแบบจำลองพื้นที่
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนเชิงรุก, แบบจำลองพื้นที่, ความสามารถการคูณทศนิยมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแบบจำลองพื้นที่ ให้มีคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 70 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 18 คน โรงเรียนสังคมพัฒนา อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแบบจำลองพื้นที่ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคูณทศนิยม 3) แบบบันทึกหลังการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนในกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถด้านการคูณทศนิยมหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแบบจำลองพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 55.56 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 44.44 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 50 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 0 คนคิดเป็นร้อยละ 0 ซึ่งเห็นได้จากคะแนนความสามารถด้านการคูณทศนิยม ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวงจรปฏิบัติการมีแนวโน้มดีขึ้นทุกวงรอบ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จรรยา ดาสา. (2552). เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. นิตยสาร สสวท, 36(163), 72-76.
ชยพลดีอุ่น และธีระภัทร ประสมสุข. (2565). การบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningของสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาลุ่มน้ำลางอำเภอปางมะผ้าสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต1. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 10-23.
บุญชัย อารีเอื้อ, พรสิน สุภวาลย์, อภิชาติ ลือสมัย, กฤษณะ โสขุมา, ภัทรพร ตัสโต, และ เมธัช เชื้อแดง. (2566). การพัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารร้อยแก่นสาร, 8(3), 457-475.
ปรียานุช พรหมภาสิต. (2559). คู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active Learning (AL) for HuSo at KPRU. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พรปวีณ์ จันทร์ธรร,พรรณทิพา ตันตินัย, และ เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (2566). ผลการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกร่วมกับเทคนิค Think–Pair–Share ที่มีผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(2), 8-16.
วิภาพรรณ พินลา, และ วิภาดา พินลา. (2564). การเรียนรู้เชิงรุกของครูสังคมศึกษาในยุคไทยแลน 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(1), 1-12.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 36-49.
Abdulkarim, A., Toro, A. H., Murtala, M. N., & Dogo, N. U. (2021). Effect of Area Model on Multi-Digit Multiplication Performance of Primary Six Pupils. ATBU Journal of Science, Technology and Education, 9(3), 319-326.
Dlamini, E. (2014). Exploring links between multiplication problem types, learners' setting up of models and use of strategies within a small-scale intervention (Doctoral Dissertation).
Kwon, O. H., & Son, J. W. (2019). Revisiting Multiplication Area Models for Whole Numbers. The Mathematics Enthusiast, 16(1), 359-368.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต