การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน
คำสำคัญ:
แผนการจัดการเรียนรู้, ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา, โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน 36 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาแบบอัตนัยจำนวน 6 ข้อ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนแบบรูบริค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (C.V.) t-test (Paired Two Sample for Means) และZ-test (One Sample test for Proportion)
ผลการศึกษา พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร จำนวน 3 เนื้อหา 9 แผน มีผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ในด้านเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ2) หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด UPSC Model ผลการประเมินความสามารถด้านการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนผลต่างเฉลี่ย 38.53 คะแนน ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันหลังเรียนน้อยกว่าก่อนเรียน ทดสอบด้วยค่าสถิติ t – test พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการทดสอบสัดส่วน พบว่าร้อยละของนักเรียนมีความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระดับดีขึ้นไปมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
พัชรา โภชนุกูล. (2557). ผลการใช้วิธีการสอนแบบโพลยา (Polya) ร่วมกับแบบฝึกตามแนวคิด KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ].
พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). สถิติเพื่อการวิจัยพร้อมการใช้โปรแกรม Microsoft Excel. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
พิมพ์ชนก ทำนอง. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัฒกรรมการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
วรางคณา สำอาง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของโพลยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1). 52-61.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565. https://www.niets.or.th/th/content/view/25621.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตสถาน. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สิริลักษณ์ พรสุวรรณ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอน MAT3C Model เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(1). 457-469.
สุพัตรา ฉลาดเลิศ. (2560). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี].
Baroody and Arthur J. (1987). Children Mathematical Thinking. Teachers College Press.
Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton. Princeton University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต