คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามความต้องการของสถานประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
คุณลักษณะที่พึงประสงค์, จิตวิทยา, สถานประกอบการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของนักศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาตามความต้องการของสถานประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนที่รับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางจิตวิทยา จำนวน 30 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามทั้งแบบปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า สถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26) โดยด้านคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุด ( = 4.59) รองลงมาคือด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.49) ด้านคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ( = 4.47) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 4.18) ด้านความรู้ ( = 4.12) ด้านทักษะทางปัญญา ( = 4.02) และด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต ( = 3.97) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาตามความต้องการของสถานประกอบการ ประกอบไปด้วย ด้านวิชาชีพจิตวิทยาและการให้การปรึกษา ด้านการคิด ด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านพฤติกรรมการทำงาน และด้านคุณธรรม จริยธรรม ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา ประกอบไปด้วย ทักษะวิชาชีพทางจิตวิทยา ทักษะวิชาชีพในการทำงาน ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร และทักษะทางสังคมและการทำงาน
References
จันทร์จิรา ปานลิ้ม. (2558). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของพนักงานตามทัศนะของนายจ้างในจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/39648/3/FULL.pdf.
ชนากานต์ สุวรรณรัตนศรี, ฉัตรมณี บัววรรณ และ ชุติกร ปรุงเกียรติ. (มีนาคม, 2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรในยุคประเทศไทย 4.0 [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม], การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.
นวลศิริ เปาโรหิตย์ และ เมธินินท์ ภิญญูชน. (2552). คู่มือให้คําปรึกษาและช่วยเหลือผู้อื่น. สํานักพิมพ์บีมีเดีย.
พิชามญชุ์ บุญสิทธิ์, เครือมาศ ชาวไร่เงิน และ กิตติปัทม์ แสงงาม. (2565). การศึกษาแนวโน้มความต้องการในการเปิดหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 16(2), 148-165.
ภูริเดช พาหุยุทธ์, ผกาวรรณ นันทะเสน, กรรณิการ์ แสนสุภา และ เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์. (2565). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(6), 63-78.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2563 (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2564). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. ส. เจริญการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สิริญญา พฤคฌาญาณ, ธร สุนทรายุทธ และ สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์. (2557). คุณลักษณะของบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพาตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 297-307.
สิวลี ศิริไล. (2556). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. (13-15 เมษายน 2566). 4 Soft Skills สร้างทักษะที่ไม่มีใครแทนได้. ฐานเศรษฐกิจดิจิตัล, https://tu.ac.th/uploads/media/clipping66/apr/%2016%20เม.ย.66.pdf
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.
Syptak, J.M., Marsland, D.W., & Ulmer, D. (1999). Job satisfaction: Putting theory into practice. Family Practice Management.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต