การพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่าฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม

ผู้แต่ง

  • ปิยราช สมบัติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท–เชียงใหม่
  • วีระศักดิ์ ชมภูคำ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบองค์รวม , ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ , การเรียนรู้เชิงรุก

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่าฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน  โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 10 แผน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 3.1) แบบทดสอบความรู้แบบเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ 3.2) แบบประเมินการเรียนรู้กระบวนการทำงานจากการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่ 3.3) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ ความมุ่งมั่น การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ  สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม

             ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมของทุกรายการประเมินย่อยทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 แผน และอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 แผน  2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ พบว่า 2.1) นักเรียนทุกคนมีความรู้ตามเกณฑ์อยู่ในระดับดีขึ้นไปโดยมีนักเรียน จำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมาก และจำนวน 7 คน อยู่ในระดับดี 2.2) โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่จะมีการเรียนรู้ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดีจำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมากจำนวน 3 คน  และอยู่ในระดับพอใช้จำนวน 4 คน ส่วนการประเมินการจัดทำโครงงานและการนำเสนอโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่ โดยการประเมินการเรียนรู้ด้านกระบวนการย่อยทั้ง 4 รายการ โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่จะมีการเรียนรู้ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดี  จำนวน 6 คน  อยู่ในระดับดีมาก 4 คน และพอใช้ จำนวน 2 คน 2.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ความมุ่งมั่น อยู่ในระดับดี

References

กรมวิชาการ. (2546). การจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

เกตุมณี มากมี. (2560). การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวนันท์ เขียวเพชร, ขวัญเพชร ไสยันต์ และ ยุทธพงษ์ นาคโสภณ. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 12(2), 28-38.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นลินทิพย์ พิมพ์กลัด, นงลักษณ์ ทองศรี และ จันทิรา พรศิรินนท์. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 92-102.

นันธวัช นุนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 17-26.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2555). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พิมพ์ลักษณ์.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช. (2561, 18 ธันวาคม). การจัดการศึกษาแบบองค์รวม: เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต. https://www.arsomsilp.ac.th/lifeislearning-vichan/

สรเดช เลิศวัฒนาวณิช. (2560). การพัฒนากิจกรรมพัฒนานักเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยของประเทศในเอเชีย. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขฉบับเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Alan, K. (2018). The Impact of Project-Based Learning in the Secondary Classroom. Instruction, Faculty of Education, King Faisal University, Al Ahsa 31982, Saudi Arabia.

Mohammed, A. (2020). The Effectiveness of the Project-Based Learning (PBL) Approach as a Way to Engage Students in Learning. Department of Curriculum and Northwestern College Orange City.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/12/2025

How to Cite

สมบัติ ป., & ชมภูคำ ว. (2025). การพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่าฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม. วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 4(1), 65–79. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/4731