การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยา , การคิดเชิงบวก , นักศึกษาวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ คุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะการคิดเชิงบวก โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกสามารถเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2567). นโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิตประจำปีงบประมาณ 2568. https://dmh.go.th/intranet/p2568/policyDMH2568
ปรียานุช วุฒิ ชูประดิษฐ์ และ สุภัทร ชูประดิษฐ์.(2565). จิตวิทยาเชิงบวก กลยุทธ์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1). 1-14.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). การคิดเชิงบวก. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 16(2).191-223.
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2561). การคิดเชิงบวกตัวแปรเพื่อพัฒนาชีวิต. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3). 1958-1978.
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2558). การศึกษาและเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). 131-146.
พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์, วรัญยภรณ์ ชาลีรักษ์, วิจิตร แผ่นทอง, และ พูลวงศ์ สุขสว่าง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเชิงบวกในการทำงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา : การวิเคราะห์ MIMIC. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 1(9). 1336-1348.
มนทกานต์ เมฆรา. (2567). จิตวิทยาเชิงบวก. ส อินฟอร์เมชั่น.
มลิวัลย์ เทพมงค์. (2563). การสร้างแบบวัดการคิดเชิงบวกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร].
ศิรินยา จีระเจริญพงศ์ (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดเชิงบวก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัด สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและสถิติการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2565). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 14). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัชรา เอิบสุดสิริ. (2565). จิตวิทยาสำหรับครู. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณี กีรติวิโรจน์สกุล. (2566). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเสริมสร้างความคิดเชิงบวกแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].
Angela L. Duckworth. (2016). Angela Duckworth on passion, Grit and Success. https://www.youtube.com/watch?v=H14bBuluwB8.
Derbono, Edward. (1985). Six thinking hats. England. Penguin Books.
Joyce.B., and Well.M. (2009).Model of teaching (8th ed). Boston: Pearson Education Inc.
Norman Vincent peale. (2020). The Power of Positive thinking. USA: pearson.
Seligman. M.E.P. (2013). Flourish : a visionary new understaning of happiness and well being. New York: Atria Books.
Singh. K. and Jha. S. D. (2008). Positive and Negative Affect. And grit as predictor of happiness and life Satisfication. Journal of Indian Academy of Applied Psychology, 34, 40-45. https://www.researchgate.net/publication/285749956_Positive_and_negative_affect_and_grit_as_predictors_of_happiness_and_life_satisfaction
Ventrella. (2001).The Power of Positive Thinking in Business. London: Vermilion.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต