การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารการประเมินวิทยฐานะของครู โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฟาริดา เดชะกูล สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สายฝน แสนใจพรม ภาควิชาเทคนิคการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กระบวนการบริหาร, การประเมินวิทยฐานะของครู, โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหาร การประเมินวิทยฐานะของครู โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ ข้าราชการครูโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ที่ผ่านการประเมินผลงานรายปี และมีความเต็มใจให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า ระหว่างผู้ให้การสัมภาษณ์ นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา และนำเสนอโดยความเรียง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการประเมินวิทยฐานะในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาผลงาน โดยดำเนินการประเมินตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด แต่ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ และแนวทางการประเมินตามตัวชี้วัด ครูมีการรวมกลุ่มเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมิน โดยศึกษาเอกสารด้วยตนเอง และปรึกษาผู้ที่เคยผ่านการประเมิน สภาพปัจจุบันและปัญหาแยกเป็นรายด้าน ดังนี้

  1. ด้านการวางแผนก่อนการประเมิน ครูขาดความรู้ ความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับแนวทาง การประเมินตามตัวชี้วัด การกำหนดแผนการประเมินในภาพรวมของโรงเรียนไม่ชัดเจน
  2. ด้านการดำเนินงานระหว่างรอบการประเมิน มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน แต่ยังขาดผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาในบางขั้นตอน มีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกรอบระยะเวลา และการกำหนดขอบเขตของผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด
  3. ด้านการตรวจสอบและประเมินผล ขาดความต่อเนื่องในการสร้างความเข้าใจก่อน การประเมิน แนวทางในการพิจารณาผลการปฏิบัติงานประกอบการสรุปผลการประเมินไม่ชัดเจน มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันบางตัวชี้วัด

ด้านการสะท้อนผลหลังการประเมิน มีการแจ้งผล และสะท้อนผลการประเมินที่เป็นประโยชน์แบบกัลยาณมิตร มีแนวทางในการนำไปปรับปรุง และพัฒนา ครูมีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการประเมิน แต่ขาดความชัดเจนในการจัดทำรายงานผลการประเมิน

References

ชาญสิทธิ์ คำเทศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์ (2557). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), (157-162).

ประวิต เอราวรรณ์. (2564). การประเมินวิทยฐานะครูแนวใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 1-8.

ปิ่นประภาภรณ์ กุลสุวรรณ. (2560). แนวทางพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนบ้านบางกะปิ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 635-649.

พรวีนัส ข่วงสิมมา (2562). การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ สำนักงานสถิติจังหวัด. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 1-11.

โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์. (2562). รายงานผลโครงการกลุ่มงานบุคคลและอำนวยการ ปีการศึกษา 2562. เชียงใหม่: โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์.

ลภัสรดา นาโควงค์. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(63), 59-68.

ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์ และคณะ. (2555). การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. การพยาบาลและการศึกษา, 5(3), 36-54.

วัชรพงษ์ อภิญญานุรังสี. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่. วารสารวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 125-141.

วาริช รัตนกรรดิ และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (2560). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2563-2565). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุทัศน์ ธิยานันท์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(พิเศษ), 234-247.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. สืบค้นจาก https://he02.tcithaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/67581/55153.

Apak, S., Gümüş, S., Öner, G., & Gümüş, H. G. (2016). Performance appraisal and a field study. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 229, 104-114.

Cintrón, R., & Flaniken, F. (2011). Performance appraisal: A supervision or leadership tool. International Journal of Business and Social Science, 2(17), 29-37.

Dangol, P. (2021). Role of Performance Appraisal System and Its Impact on Employees Motivation. Quantitative Economics and Management Studies, 2(1), 13-26.

Lunenburg, F. C. (2012). Performance appraisal: Methods and rating errors. International journal of scholarly academic intellectual diversity, 14(1), 1-9.

Maharaj, S. (2014). Administrators' Views on Teacher Evaluation: Examining Ontario's Teacher Performance Appraisal. Canadian Journal of Educational Administration and Policy.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/29/2022