กรอบความคิดเติบโตและการบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามกรอบมาตรฐาน CEFR ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
กรอบความคิดเติบโต, การบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 2) เพื่อศึกษาการบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียน
การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ของกรอบความคิดเติบโตและการบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ประชากร คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าทางสถิติ อันได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ซึ่งพบว่า 1) ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีกรอบความคิดเติบโตในระดับสูงทั้ง 6 องค์ประกอบ 2) การบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษซึ่งมีลักษณะที่เรียงลำดับพฤติกรรมด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้านทักษะอยู่ในระดับสูงตามลำดับ 3) ทำการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ระหว่างกรอบความคิดเติบโตและการบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันและมีค่าอยู่ในระดับ 0.78 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมากทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ซึ่งสรุปได้ว่าครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มีระดับกรอบความคิดเติบโตสูง จะมีระดับการบูรณาการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสูงตามไปด้วย
References
กรมสุขภาพจิต. (2558). ความตรงของแบบวัดชุดความคิด. http://www.library.dmh.go.th/raja//_fulltext/fulltext/870/20160426133648_4679.pdf
ปัทมาภรณ์ ศรีราษฎร์ และคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู. https://www.edu.chula.ac.th/ojed
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มารุต พัฒผล. (2564). การโค้ชเพื่อเสริมสร้าง Growth mindset ของผู้เรียน. http://www.curriculumandlearning.com
ศิริชัย กาญจนวาสี (2550). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3) . ภาควิชาการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). 25 Elements Digital Competency. https://www.dlbaseline.org/digital-competency
สุวิทย์ บึงบัว. (2564). การจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร น่า (COVID-19). สำนักงานคระกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://www.youtube.com/watch?v=4jb5TKDh9s8
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). การศึกษาไทยยุค 4.0 ให้เรียนในสิ่งที่ชอบ. ไทยรัฐ. http://www.thairath.co.th/content/1082110.
Anderson, L. W. (Ed.), Krathwohl, D. R. (Ed.), (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s Taxonomy of Education Objectives (Complete edition). New York: Longman.
Bloom, B. S. (Ed.) (1956). Taxonomy of Education Objectives, the classification of educational goals-Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: Ballantine.
Dweck, C. S. (2013). Self-theories: Their role in motivation, personality, and development. London, UK:Psychology Press.
Dweck, C. S. (2015). Carol Dweck revisits the growth mindset. Education Week, 35(5), 20-24.
Hattie, J. (2008). Visible Learning: A synthesis of 800 meta-analyses relating to achievement. Routledge.
Malcolm, S. K. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. Chicago: Follet Publishing Company.
Mindsetworks. (2012). Evidence of impact: Brainology and Mindset Works School Kit. Retrieved from https://www.mindsetworks.com/websitemedia/info/impactsummaryhandout.pdf
OECD/UNESCO. (2016). Education in Thailand: An OECD - UNESCO Perspective, Reviews of National Policies for Education. Paris: OECD Publishing. https://doi.org/10.1787/9789264259119-en
Southeast Asian Ministers of Education Organization (2021). SEAMEO Toolkit for Remote Teaching and Learning. Bangkok: Thailand.
Southeast Asia Teachers Competency Framework (SEA-TCF) (2018). The Teachers’ Council of Thailand: Bangkok, Thailand. http://www.ksp.or.th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต