ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บุริศร์ ยอดนางรอง วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • พีรยา จันทร์ศรีทอง วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • กุลภรณ์ เศวตจิตรไกรสร วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • วนิดา สิงหาเทพ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • อารยา ทิพย์วงศ์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันการสูบบุหรี่, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 361 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยส่วนบุคคล และความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.95 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 1.00 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.0 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพอใช้ ร้อยละ 13.0 และมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 168.30, S.D. = 17.03) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (η= .122, p < .05 ) และ ระดับชั้นปี (η= .102, p < .05) ส่วนปัจจัยในด้านเกรดเฉลี่ยสะสมล่าสุด (r = .020, p > .05) การสูบบุหรี่ของบุคลในครอบครัว/ผู้ที่อาศัยด้วย (η = .002, p > .05) การได้รับ หรือ สัมผัสควันบุหรี่ (η= .060, p < .05) และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ (η= .017, p > .05) พบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มพูนความรอบรู้ทางสุขภาพและส่งเสริมการป้องกันการสูบบุหรี่ให้กับนักศึกษาในสถานศึกษาต่อไป

References

ธนะวัฒน์ รวมสุก, สุรินธร กลัมพากร, และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2561). ผลของโปรแกรมเลิกบุหรี่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.วารสารพยาบาล, ปีที่ 67(1), 1-10.

ลักษมล ลักษณะวิมล, เรวดี เพชรศิราสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร และนัยนา หนูนิล. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน อำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล, 69(1) : 1-9.

วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงศ์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง และรักมณี บุตรชน. (2562). การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศศิธร ชิดนายี, และวราภรณ์ ยศทวี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดอุตรดิตถ์, 10(1), 83-93.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.trc.or.th/th/media/attachments/2020/07/19/.-2562.pdf.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). คนไทยหนึ่งล้านคนป่วยจากการสูบบุหรี่. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/36862-คนไทยหนึ่งล้านคนป่วยจากการสูบบุหรี่.html.

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, Vol. 15 No. 3 (2014): กันยายน-ธันวาคม 2557. 174-178.

Bundhamcharoen, K., Aungkulanon, S., Makka, N., & Shibuya, K. (2016). Economic burden from smoking-related diseases in Thailand. Tobacco Control, 25(5), 532–537.

Center for Disease Control and Prevention. (2017). Health effects of cigarette smoking. Retrieved January 18, 2021, from http://cdc.gov.tobacco/data_Statistics/factsheet/health_effects/ effects_cig_smoking/index.htm.

Coleman, C., et al. (2012). The Calgary Charter on Health Literacy: Rational and core principles for development of health literacy. Retrieved January 18, 2021, from http://www.centreforliteracy. qc.ca/health_literacy/clgary_charter [November 3, 2014].

Choeisuwan V, Tansantawee A. (2018). Selected factors related to health literacy of nursing students in royal Thai Navy College of nursing. Royal Thai Navy Medical Journal, 45(2):250-66.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 15 (3), 259-267.

Nutbeam, D. (2009). Defining and Measuring Health Literacy: what can we learn from literacy studies?. .Journal of Public Health, 54: 303-305.

Prakit Vathesatogkit and Naowarut Charoenca. (2011). Tobacco control: Lessons learnt in Thailand. Indian Journal of Public Health, 55(3), 228-33.

World Health Organization. (2009). Health Literacy and Health Promotion Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. Paper presented at the 7th global conference for health promotion: Promoting health and development, closing the implementation gap; 2009, Oct26–30, Kenya.

World Health Organization. (2015). Report on the global tobacco epidemic. Retrieved January 18, 2021, from http://www.who.int/ tobacco/global_report/2015/report/en/.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

เผยแพร่แล้ว

06/21/2022

How to Cite

ยอดนางรอง บ., จันทร์ศรีทอง พ., เศวตจิตรไกรสร ก., สิงหาเทพ ว., & ทิพย์วงศ์ อ. (2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 1–9. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/1336