ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2022): วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)

					ดู ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2022): วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)

พ.ศ. 2565 เป็นปีที่ 5 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างผลงานทางวิชาการออกสู่สังคม และที่ผ่านมาวารสารวิจัยธรรมศึกษา โดยทางกองบรรณาธิการได้บริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI มีการตรวจประเมินผลงานวิชาการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณให้เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน

วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร (Factors Related to Health Literacy on Smoking Prevention among Nursing Students in the University, Bangkok Metropolis) โดย บุริศร์ ยอดนางรอง พีรยา จันทร์ศรีทอง กุลภรณ์ เศวตจิตรไกรสร วนิดา สิงหาเทพ และ อารยา ทิพย์วงศ์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.0 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพอใช้ ร้อยละ 13.0  และมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 168.30, S.D. = 17.03) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (?= .122, p < .05 ) และ ระดับชั้นปี (?= .102, p < .05)  ส่วนปัจจัยในด้านเกรดเฉลี่ยสะสมล่าสุด  (r = .020, p > .05) การสูบบุหรี่ของบุคลในครอบครัว/ผู้ที่อาศัยด้วย (? = .002, p > .05) การได้รับ หรือ สัมผัสควันบุหรี่ (?= .060, p < .05) และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ (?= .017, p > .05) พบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มพูนความรอบรู้ทางสุขภาพและส่งเสริมการป้องกันการสูบบุหรี่ให้กับนักศึกษาในสถานศึกษาต่อไป
  2. วิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย (Home Economics Method: The Identity Context of Thai Food Values) โดย จุตพล กิจทวี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บทความวิชาการนี้เป็นการอธิบายถึงวิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย ซึ่งประกอบด้วย รสชาติ ราคา คุณค่าต่อสุขภาพ (Health foods) อีกทั้งจะต้องมีความสะดวกในการบริโภค เป็นอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และปรุงสด รสชาติให้ถูกรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มุ่งเจาะตลาดเฉพาะ และการสร้างตราสินค้า การใช้บรรจุภัณฑ์ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจและสอดคล้องกับความนิยมของผู้บริโภค เน้นจุดขายที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะวัฒนธรรมไทยด้านคุณภาพของอาหารไทย ในเรื่องอาหารไทยมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก ที่มีผลต่อการบริโภคอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้น ประกอบด้วยรสชาติเข้มข้น มีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัว ดังนั้น การทำ อาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญ และประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทย ผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต เพื่อให้อาหารน่ารับประทาน ทำให้นึกถึงเรื่องอาหารไทยเป็น มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์คุณค่าของอาหารไทยนอกจากรสชาติอาหารอร่อย ที่มาพร้อมความสมบูรณ์แบบในการจัดเสิร์ฟแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การตกแต่งอาหารให้ออกมาดูดี น่ารับประทาน ซึ่งการจัดจานถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกได้ดีอีกด้วย บ่งบอกถึงความสวยงาม ความน่ารับประทาน ความน่าสนใจของรูปแบบการจัดอาหาร เป็นการสร้างมูลค่าให้กับอาหารอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกทางวัฒนธรรมได้อีกทางหนึ่ง
  3. A Study of English Teaching Method of Teacher in Khmer Buddhist High School at Tra Vinh Province in Vietnam by Kim Rach Ta Na Veerakarn Kanokkmalade and Nilratana Klinchan Department of Foreign Language, Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, The results of this research found that 1. According to interviews with teachers who had in English teaching method in 4 skills in a general test of teachers who are teaching in Khmer Buddhist high school at Tra Vinh in Vietnam. While the English speaking had 7 participants, 5 participants are in English writing and reading, and 3 participants are in English listening, and consisting of 5 participants are liked on English conversation, while 7 participants are liked on English grammar, and 4 participants are liked on English vocabulary and pronunciation, which general test in English teaching method that most teachers are liked on English speaking and English conversation method. 2. The discovering interview questions with teachers at Khmer Buddhist high school, all of the teachers still get the problems while they were teaching English in the class. When they explained to students, they used the Khmer language 50% and English language 50% while they are teaching, they tried to translate from English into their mother tongue that was the big problem. The solution English teaching needed the students to read understand all the passages but did not force them to translate them. English teacher had created the group to give an idea when they finished class. They had found out the problems how to make students interested and pay attention while they were teaching.
  4. รูปแบบการประยุกต์ใช้พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรมเพื่อการแก้ปัญหาเยาวชนในสังคมหลังนวยุค (The Application Model of Buddhist Hermeneutics on The Laws of Karma for The Youth Problem-Solving in The Postmodern Society) โดย พระมหาอุบล จรธมฺโม (ดวงเนตร) สมบูรณ์ บุญโท และ สวัสดิ์ อโณทัย สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนและวัยรุ่น คือ คนหนุ่มสาวที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลักษณะปัญหาของมนุษย์ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญา ทุกคนมีปัญหาทั้งนั้น จากเล็กจนโต การวิเคราะห์สังคม 3 ยุค ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญา ยุคดึกดำบรรพ์มองทุกอย่างว่า มาจากน้ำพระทัยของอำนาจลึกลับ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวอยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ กระบวนทรรศน์ยุคโบราณ เริ่ม (450-300 ก่อนคริสตกาล) แบ่งเป็นสามยุคย่อย คือ ?ยุคโบราณเริ่มต้น ยุคโบราณยุครุ่งเรือง ยุคโบราณยุคเสื่อม? กระบวนทรรศน์ปรัชญา 5 ยุค กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ เชื่อว่า มนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์อุบัติขึ้นมาจนถึง 2-3 ล้านปีมาแล้วชีวิตอยูตามธรรมชาติ กระบวนทัศน์โบราณ แนวคิดที่เชื่อว่า โลกมีกฎเกณฑ์การแก้ปัญหาหรือขจัดทุกข์มีกฎมีเกณฑ์ กระบวนทรรศน์ยุคกลาง เชื่อว่าโลกมีกฎเกณฑ์ แต่ยึดเอาความสุขในโลกหน้า โลกนี้จะอยู่อย่างไรไม่ค่อยเน้นความสำคัญนัก ปัญหาและรากเหง้าของปัญหาเยาวชนรุ่นใหม่ คือ ขาดการอบรมบ่มนิสัยหรือจริยธรรม และมีปัญหาทางจิตใจ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 แนวคิดอรรถปริวรรตศาสตร์ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุค เป็นเรื่องของการปฏิบัติแห่งการตีความมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของปรัชญา วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การสร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการประยุกต์ใช้ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การสำรวจตรวจค้น การทดลอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 วิธีประยุกต์ใช้ การยึดมั่นในหลักกรรม การชี้ให้เห็นความสำคัญญของกฎแห่งกรรม และองค์ความรู้ใหม่ คือ การบูรณาการหลักไตรสิกขา หลักขันธ์ 5 และหลักไตรลักษณ์ เข้ากับพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์เข้ากับหลัก กรรมและกฎแห่งกรรม เพื่อการอธิบาย การเกิดขึ้นของกรรม ความใกล้ชิดของกรรมกับชีวิตคนมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย
  5. รูปแบบการเสริมสร้างประสิทธิผลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนบน (A Model for Enhancing The Effectiveness of Monks? Holistic Health Care in The Upper Central Province) โดย พระกิตติญาณเมธี (สมเกียรติ รามัญวงศ์) วิจิตรา ศรีสอน และ สันฐาน ชยนนท์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ บริหารการสร้างพระคิลานุปัฏฐากและบริหารวัด โดยการบริหารวัดคือการบริหารตน บริหารคนและบริหารวัด โดยการบริหารตนใช้การบริหารโดยใช้วัตร 10 ประการ การบริหารคนแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริหารคนในวัดใช้หลักทศพิธราชธรรม บริหารคนนอกวัดใช้หลักการบริหารอุบาสกอุบาสิกา 5 ประการ การบริหารวัดให้ใช้หลักการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ตามที่มหาเถรสมาคมกำหนดไว้ 6 ด้าน
  6. การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ (Providing Infrastructure Services to the People of the Si Chomphu Subdistrict Administrative Organization So Phisai District Bueng Kan Province) โดย มณตรี ปทุมวัฒนชัย และ โกศล สอดส่อง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.42, S.D.= 0.63) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านถนน (= 3.55, S.D.= 0.79) รองลงมา คือด้านไฟฟ้าส่องสว่าง (= 3.48, S.D.= 0.64) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านประปา (= 3.25, S.D.= 0.76) ผลการเปรียบเทียบการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู ได้แก่ ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เช่น มีการการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อการเกษตร เป็นต้น
เผยแพร่แล้ว: 06/21/2022

บทความวิจัย