รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ปิยะดา จุลวรรณา สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปิยลักษณ์ อัครรัตน์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อดิเทพ ณ พัทลุง สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

แนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน, กิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ, สำนึกรักพื้นที่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนารูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน ผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับมัธยมปลาย โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน ผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ แบบวัดความรู้ แบบวัดคุณลักษณะการมีสำนึกรักพื้นที่ และแบบประเมินรูปแบบกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) 
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้พื้นที่เป็นฐาน 2) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ด้านความรู้ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการมีสำนึกรักพื้นที่จังหวัดนครนายกสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2551). โครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2550). การเรียนรู้และพัฒนาการของผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานจังหวัดนครนายก (2561). แผนพัฒนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2561-2564. นครนายก: สำนักงานจังหวัดนครนายก.

Brookfield, S.D. (1996). Understanding and Facilitating Adult Learning. San Francisco:Jossey-Bass.

Brookfield, S.D. (2004). Developing Critical Thinkers. San Francisco: Jossey-Bass.

Brookfield, S.D. (2004). The Skillful Teacher. San Francisco: Jossey-Bass.

Gruenwald,D.A. (2003). The best of both World : Acritical Pedagogy of place. Educational Researcher.

Knapp,C.E. (2001). Select Place Based Curricular Program. Threshold in Education.

Knapp,C.E.,& Woodhouse,J.L. (2004). Place - Based Pedagogy: Experiential Learning for Culturally and Ecologically sustainable community. Glasgow: Scotland.

Powers,A.L. (2004). An evaluation of four place-based education programs. Journal of Environmental education.

Smith,G.A. (2002). Place-Based Education: Learning to be where we are. Phi Delta Kappe.

Sobel,D. (2005). Children special place: Exploring the rile of fort, dens, and bush house in middle childhood. Tucson: Arizona.

Sobel.D. (2013). Place-Based education Connecting classroom & communities. USA: The Orion Society.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/11/2021