วิเคราะห์หลักตรรกศาสตร์ในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
วิเคราะห์, ตรรกศาสตร์, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
การนำเสนอบทความวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหลักตรรกศาสตร์กับพระพุทธศาสนา ตรรกศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล และเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปอธิบายความคิดทางปรัชญาให้มีความสมเหตุสมผล มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงมิใช่ตัวความรู้และมิใช่ตัวความจริง แต่เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวนำเราไปสู่ความรู้ความจริงนั้น ผลการศึกษาคือถ้าหากปราศจากการคิดหาเหตุผลโดยวิธีการทางตรรกศาสตร์แล้ว ก็เป็นการยากอย่างยิ่งที่มนุษย์จะเข้าถึงทั้งความรู้ความจริงนี้ได้ ทั้งพระพุทธศาสนาและตรรกศาสตร์ต่างเกี่ยวข้องกับความจริงที่มนุษย์ควรแสวงหา พระพุทธศาสนาเห็นว่าชีวิตมีทุกข์ การขจัดความทุกข์ได้คือนิพพานนั่นคือการบรรลุความจริงสูงสุดของมนุษย์ ส่วนตรรกศาสตร์ทำหน้าที่วางระเบียบวิธีคิดเพื่อให้เข้าใจความจริง พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธว่ามนุษย์ไม่คิดแบบตรรกศาสตร์ ทั้งพระอริยบุคคลและปุถุชนต่างก็คิดแบบตรรกศาสตร์ด้วยกันทั้งหมด และการศึกษายังพบอีกว่าบางครั้งใช้ข้อแน่ใจและบางครั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐานการคิดเช่นกัน เพราะการคิดทั้ง 2 แบบเป็นธรรมชาติหรือปกติวิสัยของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น จะเห็นว่าทั้งพระพุทธศาสนาและตรรกศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งเลยทีเดียว
References
กีรติ บุญเจือ. (2536). ตรรกวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). ตรรกศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2538). ตรรกศาสตร์ ศิลปะแห่งการนิยามความหมายและการให้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดำรง วิเชียรสิงห์. (2542). ตรรกวิทยา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
พระสุธัน เลี้ยงวงศ์. (2552). ศึกษาเชิงวิเคราะห์ปัญหาทางตรรกศาสตร์ในสุวรรณสามชาดก. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วิทยา ศักยาภินันท์. (2548). พระพุทธศาสนากับตรรกศาสตร์, วารสารมนุษยศาสตร์ เล่มที่ 13
อุทัย ภูคดหิน. (2558). วิธีคิดแบบพุทธตรรกวิทยาสู่แนวคิดที่ถูกต้องตามความเป็นจริง. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.