ปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจชำระค่าสินค้า ผ่านคิวอาร์โค้คของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สายพิณ ทับทิมดี วิทยาลัยทองสุข
  • ภูมิพิชัย ธารดำรง วิทยาลัยทองสุข
  • สรียา ศศะรมย์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, กระบวนการตัดสินใจชำระค่าสินค้า, คิวอาร์โค้ค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจชำระค่าสินค้าผ่านคิวอาร์โค้คของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่ใช้บริการ K PLUSของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์ ด้วยวิธีสำรวจกลุ่มตัวอย่าง Survey sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้การแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและกระบวนการตัดสินใจชำระสินค้าด้วย QR Code ผ่าน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของกระบวนการตัดสินใจชำระสินค้าด้วย QR Code ผ่าน K PLUSของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One – Way ANOVA) สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจชำระสินค้าด้วย QR Code ผ่าน K PLUSของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์  โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการตัดสินใจชำระสินค้าด้วย QR Code ผ่าน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการตัดสินใจชำระสินค้าด้วย QR Code ผ่าน K PLUSของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์  แตกต่างกัน และยังพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจชำระสินค้าด้วย QR Code ผ่าน K PLUSของธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกทศกัณฑ์ 

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2540). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (ฉบับปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

ฤทัยภัทร ทำว่อง. (2557). การตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของลูกค้าธนาคารกสิกรไทยในเขตลำปาง 1. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

วรวุฒิ มีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). Service marketing. กรุงเทพมหานคร: ยูบีซีแอล บุ๊คส.

สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. (2554). แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น: นักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารห้องสมุด, 31 (4), 110.

สุปัญญา ไชยชาญ. (2540). การบริการการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/11/2021