พฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้บริโภค, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานอายุระหว่าง 21-50 ปี ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ ใช้สถิติ chi-square และทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบ ใช้สถิติ t-test และ F-test หรือ One-way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากจะมีอายุไม่เกิน 30 ปี มีสถานะภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานธุรกิจเอกชน ส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท ต่อเดือนและจะมีลักษณะการทำงานอยู่ในที่ร่ม โดยพฤติกรรมที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าส่วนใหญ่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า วัตถุประสงค์ในการซื้อคือทำความสะอาดผิว การซื้อจะอยู่ที่ต่ำกว่า 500 บาท ความถี่ในการซื้อคือ 1 ครั้ง/เดือน สถานที่ในการซื้อคือเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อคือตัดสินใจด้วยตนเองและแหล่งข้อมูลในการซื้อคือโฆษณาทางโทรทัศน์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมในการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ การวิเคราะห์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและลักษณะการทำงาน แตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานแตกต่างกัน ยกเว้นด้านอาชีพแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานไม่แตกต่างกัน และการวิเคราะห์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงาน พบว่า ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อ สถานที่ในการซื้อ บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อและแหล่งข้อมูลในการซื้อแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานแตกต่างกัน แต่ด้านประเภทของเครื่องสำอางที่ซื้อ วัตถุประสงค์ในการซื้อ และความถี่ในการซื้อแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานไม่แตกต่างกัน
References
กิตติวิทย์ คงบุญรักษ์. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้ชาย. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
กรุงเทพธุรกิจ. (2557). ธุรกิจเครื่องสำอางผู้ชายกาลังบูมในเอเชีย. สืบค้นเมื่อปี 2557. จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/585481.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนวรรณ แสงสุวรรณ, อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า, อุไรวรรณ แย้มนิยม, ยุทธนา ธรรมเจริญ และยงยุทธ ฟูพงศิริพันธ์. (2552). การจัดการการตลาด 1. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
ปิยฉัตร บุญจงไพสิฐศรี. (2555). พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางบารุงผิวของผู้ชายทางสื่อ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ปรีชา อัศวโกสินทร์ชัย. (2560). 7Ps ที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย.
ลลิตา ขำแสง, ณักษ์ กุลิสร์, และสุพาดา ศิริกุตตา. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3 (6), 89-104.
อภิวิชญ์ ภวมัย. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าของผู้ชาย ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.