การจัดการศึกษาวรรณคดีไทยโดยการใช้ Metavers

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ วุฒิธรรมาภิวัฒน์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเวียงพณิชยการ
  • พัชรพร สาลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ชลลัดดา สายนาโก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, วรรณคดีไทย, วรรณคดีไทย ,จักรวาลนฤมิตร

บทคัดย่อ

          การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในหมวด 9 มาตรา 66 ระบุว่าผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความ สามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต หลักสูตรการสอนภาษาไทยเป็นหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ขอนแก่น ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี มีระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 4 ปีการศึกษา และมีเรื่องการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามโรงเรียนต่างๆ ด้วย ซึ่งเป็นหลักสูตรในการผลิตครูด้านการสอนภาษาไทย ซึ่งในเนื้อหาการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีไทยได้จัดเป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรการสอนภาษาไทย โดยมีคำอธิบายรายวิชาไว้ว่า ศึกษาวรรณคดีไทย และวิวัฒนาการของวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาวรรณคดีเอกของไทยทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ความเป็นมา เนื้อหา รูปแบบ คุณค่าในด้านประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครอง สังคม และวรรณศิลป โดยมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ไว้ว่า จุดมุ่งหมายของรายวิชา 1 1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดีไทย และวิวัฒนาการของวรรณคดีตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงปัจจุบัน 1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดีเอกของไทยทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองตั้งแต่ สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน 1.3 เพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ความเป็นมา เนื้อหา รูปแบบ คุณค่าในด้านประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครอง สังคม และวรรณศิลป์ของวรรณคดีไทย การนำเสนอมบทความด้านการสอนวรรณคดีไทยโดยการใช้จักรวาลนฤมิต ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความหมายกับการนำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างใน ยุคศตวรรษที่ 21 และพระราชบัญญัติการศึกษา การศึกษาในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมีการใช้โซเชี่ยลมาปรับใช้กับการเรียน สุรพล บุญลือ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบันเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณของการเข้าถึงทำได้อย่างมากมายและรวดเร็วทำให้เกิดการแปรปรวน (Disruptive) จากความเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดชีวิตในรูปแบบใหม่โลกไม่มีขอบเขตในเรื่องของเทคโนโลยีและในบทความเดียวกันได้กล่าวว่า (Metaverse) เป็นการเชื่อมโยงผู้คนที่อยู่ห่างไกลกันเข้ามาอยู่ในโลกเสมือน และทำกิจกรรมเสมือนได้อยู่ในที่เดียวกัน ตามแนวคิดนี้ทางการศึกษาได้นำมาใช้หลากหลาย เช่นห้องเรียนเสมือนจริงที่สอนโดยใช้สภาพแวดล้อมออนไลน์ในอินเตอร์เน็ต นำเอานักเรียนและครูมาพบกัน ทำการเรียนการสอนและสื่อสารกันได้นานแล้ว ในบทความฉบับนี้จะอภิปรายความเป็นมาของเทคโนโลยีเสมือนจริงและการเรียนแบบเสมือนจริงในยุคต่างๆ ที่ผ่านมา ประยุกต์โลกเสมือนนี้มาปรับใช้กับการศึกษาโดยเฉพาะอันจะเกิดประโยชน์ต่อการกระตุ้นความสนใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนวรรณคดีไทย

References

จิติยาภรณ เชาวรากุล. (2563). คุณลักษณะของบัณฑิตตามความตองการของสถานประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(2), น.9.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). อนาคตวิทยา: ทฤษฎีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. เชียงใหม่: สํานักพิมพ์ ไดมอนด์กราฟิกกรุ๊ป.

ชรินทร์มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา การเรียนการสอนแบบ E-Learning กับการใช้เทคโนโลยีความ เป็นจริงเสริม Augmented Reality) เป็นสื่อรูปแบบใหม่ทางด้านการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1): 17-30.

วสันต์ เกียรติแสงทอง พรรษพล พรหมมาศ และอนุวัตร เฉลิมสกุลกิจ. (2552). การศึกษาเทคโนโลยีออคเมนต์เตดเรียลลิตี้: กรณีศึกษา พัฒนาเกมส์ “เมมการ์ด”. โครงงาน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13: 132-124.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2018). เทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความจริง Virtual Reality (VR). Augmented Reality (AR) และMixed Reality (MR). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ops. go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/675-interface-technology-vr-ar-mr. [3 สิงหาคม 2564].

McMillan, K., Flood, K., & Glaeser, R. (2017). Virtual reality, augmented reality, mixed reality, and the marine conservation movement. John Wiley & Sons, 27(S1), 162-168.

Milgram, P., Kishino, F.A. (1994). Taxonomy of Mixed RealityVisual Displays. IECE Trans. on Information and Systems (Special Issue on Networked Reality), vol. E77-D, no. 12: 1321-1329.

https://app.spatial.io/

เผยแพร่แล้ว

12/30/2022