การบริหารคนตามหลักพุทธธรรมสำหรับนักธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชิสา กันยาวิริยะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เมธา หริมเทพาธิป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารคน, พุทธธรรม, นักธุรกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์การบริหารคนตามหลักพุทธธรรมสำหรับนักธุรกิจ          วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการบริหารคนตามหลักพุทธธรรม ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมที่พบได้ในพระสูตร หลักธรรมเกี่ยวกับการบริหารคน ได้แก่ พรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุธรรม สัปปุริสทาน และอคติ หลักธรรมทั้ง 4 หมวดนี้เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญสำหรับการบริหารคนจากภายในสู่ภายนอก เมื่อสังเคราะห์หลักธรรม พบว่า ผู้นำที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา มีวาจาที่ไพเราะอ่อนหวานที่กลั่นออกมาจากใจ มีการให้และแบ่งปันอย่างมีปัญญาและมีความชอบธรรม ปราศจากอคติ ย่อมได้ใจคนหรือเพื่อนผู้ร่วมงาน สามารถประสานประโยชน์สุขให้กับคนหมู่มากได้อย่างชอบธรรม แบ่งปันความสุขความสำเร็จร่วมกันได้ด้วยความรักสามัคคี

References

การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

เนตรชนก โพธารามิก. (2561). พรหมวิหารกับคุณค่าในสังคมไทย. วารสารศิลปะการจัดการ. ปีที่ 2. ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552ก). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

. (2552ข). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระมหาสุภีร์ ฐิตเมโธ. (2533). “พระพุทธศาสนาที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารราชการ”. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2537). นิเทศธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธีรพงษ์การพิมพ์.

พระสุทธิพงศ์ ธรรมพิทักษ์, (2544). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท: ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระเจ้าปเสนทิโกศล”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

วินัย ภูมิสุขและณัฏฐกานต์ หงส์กุลเศรษฐ์. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. ปีที่ 7. ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) : 457-472.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2559). MANAGEMENT: from the Executive’s Viewpoint การจัดการ: จากมุมมอง นักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: บริษัท จี.พี.ไซเบอร์พรินท์ จำกัด.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ และคณะ. (2563). การบริหารธุรกิจตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารการวิจัย การบริหารการพัฒนา. ปีที่ 10. ฉบับที่ 2. (เมษายน-มิถุนายน) : 171-179.

Vatsyayan, K. (1986). Made Easy Ethics. New Delhi: Kedar Nath Ram Nath.

เผยแพร่แล้ว

12/30/2022

How to Cite

กันยาวิริยะ ส. ., กันยาวิริยะ ช. ., & หริมเทพาธิป เ. . (2022). การบริหารคนตามหลักพุทธธรรมสำหรับนักธุรกิจ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 240–249. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/2201