องค์รวม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน
คำสำคัญ:
องค์รวม, หลักการทรงงาน, วิเคราะห์, วิจักษ์, องค์รวม, หลักการทรงงาน, วิเคราะห์, วิจักษ์, วิธานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธานหลักการทรงงานข้อองค์รวม วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ พบว่า “องค์รวม”เป็นคำที่แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ holism ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ดว่า “แนวโน้มตามธรรมชาติในการสร้างองคาพยพที่มีคุณสมบัติมากกว่าผลรวมขององค์ประกอบ” 2. ผลการวิจักษ์ พบว่า การมององค์รวมช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นปัญหาอย่างรอบด้าน “เลือกใช้ปัจจัยที่มีผลลัพธ์สูงสุด” ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ เกิดความคิดรอบด้านในการแก้ปัญหา ไม่ด่วนตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยแนวทางใดทางหนึ่ง อันอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมาในภายหลัง 3. ผลการวิธาน พบว่า แนวทางการนำหลักการทรงงานข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ อาจสามารถประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1) มองภาพรวมของผลลัพธ์ให้ชัดเจน 2) สร้างเหตุปัจจัยให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ และ 3) มองให้เห็นปัญหาและทางออกอย่างรอบด้าน
References
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2. (เมษายน-มิถุนายน).
ธนายุทธ สิรินุตานนท์. (2565). การคิดองค์รวมและเทคนิคการบูรณาการ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// bananatraining.com/sites/10292/files/u/In-House%20Training/2)%20TH%20-%20 Thinking/ [27 พฤศจิกายน 2565].
เมธา หริมเทพาธิป. (2565). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ตอนที่ 1). สถาบันความพอเพียง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 จาก http://porpeang.net/
วิลาศ เตชะไพบูลย์. (2565). อ้างในสถาบันนโยบายศึกษา. สังคมไทยแบบองค์รวมกับองค์รวมแบบไทยๆ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// www.fpps.or.th/news.php?detail= n1089218268.news [17 พฤศจิกายน 2565].
วีระ สมบูรณ์. (2547). อ้างใน คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). แบบแผนและความหมายแห่งองค์รวม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://kb.hsri.or.th/dspace/ handle/11228/1594?locale-attribute=th [17 พฤศจิกายน 2565].
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2560). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: หจก.อรุณการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.