ความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง (2) เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนองที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพประชากร ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 78 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ประกอบด้วย โรงเรียนระดับประถมศึกษาและขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำนวน 64 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้า ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 256 คน วิธีการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้น คือ (1) การศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิจัย (2) การวิเคราะห์องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ (3) การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (4) การหาแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง มี 5 องค์ประกอบ คือ การตระหนักรู้อารมณ์ในตนเอง การจัดการอารมณ์ในตนเอง การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และทักษะทางสังคม (2)โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (Chi-Square Statistics:) เท่ากับ 1.977 องศาอิสระ (DF) เท่ากับ 233 ค่า CFI เท่ากับ 0.957 ค่า TLI เท่ากับ 0.949 ค่า IFI เท่ากับ 0.957 ค่า RMR เท่ากับ 0.91 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.064 แสดงว่าโมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้าง และ(3) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง มีทั้งหมด 21 แนวทาง องค์ประกอบที่ 1 ตระหนักรู้อารมณ์ในตนเอง มี 3 แนวทาง องค์ประกอบที่ 2 การจัดการอารมณ์ในตนเอง มี 4 แนวทาง องค์ประกอบที่ 3 การสร้างแรงจูงใจในตนเอง มี 4 แนวทาง องค์ประกอบที่ 4 การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น มี 6 แนวทาง องค์ประกอบที่ 5 ทักษะทางสังคม มี 4 แนวทาง
References
กรมสุขภาพจิต. (2549). คู่มือคลายเครียด. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย.
กัลยมล อินทุสุต. (2551). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กุหลาบ ปุริสาร. (2561). แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สู่ผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 The Guidelines on Emotional Quotient towards Effectiveness Leaders in 21 Century. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8(1), 6-8.
คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2542). ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์: ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในชีวิต. จัดหางานปริทัศน์, 4, 30-32.
ทศพร ประเสริฐสุข. (2542). ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา. พฤติกรรมศาสตร, 5(1), 22-24.
มนัส บุญประกอบ. (2545). อีคิวกับภาวะผู้นำในบางประเด็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เดสท็อป.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2542). เชาวน์อารมณ์EQ ดัชนีวัดความสุข และความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เนท.
Bar-On, R. (1997). Bar On Emotional Quotient Inventory. New York: Multi-Health Systems, Inc.
Bar-On, R.(2002). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.
Cooper, R.K., and Sawaf, A. (1997). Executive EQ: Emotional intelligence leadership And Organization. New York: Grosser/Putnam.
Goleman, D. (1998). What makes a leader?. Harvard Business Review. 76 (Noverber-December): 92-102.
Mayer, J.D., and Salovey, P. (1995). What is emotion intelligence. Emotion development and emotion intelligence. New York: Basic Books.
McClelland, D.C. (1973). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.
Salovey, P., Mayer, J.D., Goldman, D., Turvey, C., and Palfai, T.D. (1995). Emotional attention clarity and repair: Exploring emotional intelligence using the trait meta-mood scale. Washington D.C.: American Psychological Association.
Weisinger, H. (1998). Emotional Intelligence at Work: the Untapped Edge for Success. San Francisco: Jossey-Bass.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.