แนวคิดพระโพธิสัตว์ของพุทธปรัชญาเถรวาทในมุมมองมหายาน

ผู้แต่ง

  • พระวิเชียร เถี่ยนอี๊ (กาญจนไตรภพ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระโพธิสัตว์, พุทธปรัชญาเถรวาท, มหายาน

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหาคำตอบเกี่ยวกับความสำคัญของแนวคิดพระโพธิสัตว์ของทั้งพุทธปรัชญาเถรวาทและมหายาน จากการศึกษาพบว่า ทั้งสองแนวคิดจะให้ความหมายของพระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ตั้งใจและมีความมุ่งหมายที่จะบรรลุโพธิญาณหรือเป็นบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงแสดงธรรมเพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากทุกข์ รวมถึงการขั้นตอนและระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีนั้นไม่แตกต่างกัน สำหรับข้อคำถามมี 2 ประเด็น ได้แก่ พุทธปรัชญามหายานนั้นจะให้ความสำคัญเรื่องเมตตามากกว่าปัญญาเกิดจากภาพของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีด้วยการช่วยเหลือสรรพสัตว์ด้วยเมตตาเป็นสำคัญ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการใช้ปัญญา ส่วนฝ่ายเถรวาทก็มิได้ปฏิเสธการใช้เมตตาแต่การบำเพ็ญบารมีก็มักจะมีการใช้ปัญญาแฝงอยู่ภายในแม้จะเป็นการบำเพ็ญเมตตาบารมีก็ตาม และอีกประเด็นที่เกี่ยวกับพุทธปรัชญามหายานมักจะให้ความสำคัญต่อการเสียสละของตนเองเพื่อผู้อื่นมากกว่าแต่พุทธปรัชญาเถรวาทกลับสอนให้คนอื่นเสียสละ แม้ฝ่ายเถรวาทจะถูกมองเช่นนี้แต่เมื่อพิจารณาอย่างแยบคายแล้วก็จะเห็นว่าการเสียสละเช่นนั้นก็มีนัยยะของการใช้เมตตาและปัญญาแฝงอยู่ดังตัวอย่างของพระเวสสันดร ทั้งนี้อาจมีภาพที่ไม่ชัดเจนเหมือนวิธีการบำเพ็ญบารมีของฝ่ายมหายานที่เน้นช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการเสียสละตนเองเป็นสำคัญ

References

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฎเสน. (2538). พระพุทธศาสนาแบบธิเบต. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2549). พระเวสสันดรชาดก มหาบุรุษแห่งหิมพานต์. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

บุณย์ นิลเกษ. (2526). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2523). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์เถรวาทและคัมภีร์มหายาน”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทุม อังกูรโรหิต. (2553). พระมหาประณิธานของพระโพธิสัตว์ : ข้อโต้แย้งทางปรัชญา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี). (2513). ปริทรรศน์เวสสันดรชาดก. กรุงเทพฯ: เจริญชัยการพิมพ์.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิเถร). (ม.ป.ป). พระมาลัยลงไปโปรดสัตว์นรก. กรุงเทพฯ: พ็อกเก็ต บุ๊คส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระเพิ่มเติมช่วงที่ 1/เสริม). พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนธัชการพิมพ์.

พระพรหมโมลี (วิลาศ าณวโร). (2545). มุนีนาถทีปนี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

พระรัตนปัญญาเถระ. (2540). ชินกาลบาลีปกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโ. (2544). พุทธปรัชญา: สาระและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2543). คำสอนฮวงโป. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์. (2563). “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลปะศรีวิชัยที่ค้นพบในภาคใต้ของดินแดนประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8-13”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา- นครินทร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม-มิถุนายน 2563: 158.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2531). สาระสำคัญแห่งพุทธปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

. (2532). พุทธปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยาม.

.( 2552). ทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

แสง มนวิทูร. (2517). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สมภาร พรมทา. (2540). พุทธศาสนามหายานนิกายหลัก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา, ศ.ดร. คำบรรยายเรื่อง “ความแตกต่างทางปรัชญาระหว่างเถรวาทและมหายาน”, บรรยายแก่นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www. youtube.com/

watch?v=FC-XUXwNTFM [25 พฤศจิกายน 2565]

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2498). พระปฐมสมโพธิกถา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต), “พระพุทธศาสนาในอาเซีย”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/289/10 [24 พฤศจิกายน 2565]

เสฐียร พันธรังสี, ศ.พิเศษ, ราชบัณฑิต. (2543). พุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

เสถียร โพธินันทะ. (2516). ชุมนุมพระสูตรมหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

.(2543). ประวัติพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

.(2543). กระแสพุทธธรรมฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

.(2555). ปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. (2520). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024