การวางใจเป็นกลางกับปรัชญากระบวนทรรศน์

ผู้แต่ง

  • อัศวิน ฉิมตะวัน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การวางใจเป็นกลาง, กระบวนทรรศน์, ปรัชญาหลังนวยุค

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญา มีวัตถุประสงค์เพื่อตีความการวางใจเป็นกลางตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การวางใจเป็นกลางมีการเสนอแนวทางปฏิบัติมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงหลังนวยุค กระบวนทรรศน์โบราณเน้นให้การวางใจเป็นกลางตั้งอยู่บนฐานของการเชื่อมั่นในกฎธรรมชาติ กระบวนทรรศน์ยุคกลางเสนอว่า การวางใจเป็นกลางคือการทำจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลส มีความยุติธรรม ไม่เอนเอียง  กระบวนทรรศน์นวยุค เสนอว่าการวางใจเป็นกลางจะเกิดขึ้นได้จากการรู้ความจริง จึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริง และตัดสินด้วยใจเป็นกลางบนข้อเท็จจริงนั้น กระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง เสนอให้การวางใจเป็นกลางด้วยการยอมรับในภาพปรากฎและความเป็นจริงในขณะนั้น ผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางในการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการวางใจเป็นกลางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องต่อไป

References

กีรติ บุญเจือ. (2560). ปรัชญาและจริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

________. (2560). อรรถปริวรรตในปรัชญา ศาสนาและจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์, สิริกร อมฤตวาริน, กีรติ บุญเจือ, เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(5), 2051-63.

พระครูรัตนากรวิสุทธิ์, พระครูสังฆวิสุทธิคุณ, พระครูปริยัติสุวัฒนาภรณ์. (2565). พรหมวิหาร 4 กับบทบาทและสิทธิสตรี. วารสารพุทธมัคค์. 7(1): 269-281.

เมธา หริมเทพาธิป (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร. 16(3); 63-77.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ, ชิสา กันยาวิระยะ, เมธา หริมเทพาธิป. (2565). พรหมวิหาร 4 กับบทบาทและสิทธิสตรี. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. 5(2): 240-249.

Desbordes G, Gard T, Hoge EA, Holzel B, Kerr C, Lazar SW, et al. (2015). Moving beyond mindfulness: Defining equanimity as an outcome measure in meditation and comtemplative research. Mindfulness. 6(2): 356-372. doi:10.1007/s12671-013-0269-8.

Equanimity. Online etymology dictionary. From https://www.etymonline.com.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023