การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา นครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ศรีเพชร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ขัตติยา ด้วงสำราญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, มาตรฐานคุณภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษามาตรฐานคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (สพป. นครปฐม เขต 2) จำนวน 108 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลจำนวนโรงเรียนละ 3 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานการบริหารงานวิชาการ ครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 300 คน คิดเป็นร้อยละ97.20 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิเคราะห์สมการถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน (Stepvvise Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์สถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

          ผลการวิจัย พบว่า

          1)  การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ

          2) มาตรฐานคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ตามลำดับ

          3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้แก่ด้าน การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาพรวมได้ร้อยละ 33.6 ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว (Adjusted R Square) เท่ากับ 0.104 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย (Standard Error) เท่ากับ 0.320

References

กุลฑรี พิกุลแกม. (2551). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เขษมสร โข่งศรี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร.

จารุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. (2554). การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินหลักสูตร. ในเอกสาร การสอนชุด วิชาการประเมินหลักสูตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิตยา แสนสุข. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร.

นภดล จุ้ยเปี่ยม. (2553). ความต้องการพัฒนางานวิชาการตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ปภาณีย์ ดอกดวง (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา แก้งโนนกาเร็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชธานี.

ประเวศ รัตนวงศ์. (2553). การศึกษาผลกระทบของการดาเนินงานตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด อุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปัญญา แจ่มกังวาล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี:มนตรี.

มนูญ เชื้อชาติ. (2554). ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต(การบริหาร การศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา:มหาวิทยาลัย ทักษิณ..

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5). อุบลราชธานี:อุบลกิจออฟเซทการ.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:ส.เอเซียเพลส.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ.

สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหาร การศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

____. (2554). แนวทางการประเมิน. กรุงเทพฯ: เจริญผล.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2552-2559. กรุงเทพฯ: สานักนายกรัฐมนตรี.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

____. (2552). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

____. (2555). คู่มือผู้ประเมินเพื่อการ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับอุดมศึกษา(พ.ศ. 2554- 2558). สมุทรปราการ: ออฟเซ็ทพลัส.สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). แนวทางการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรพงศ์มิตรกูล. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับขั้นพื้นฐาน ปี การศึกษา 2553. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1.

โสภา นาควงษ์เพ็ชร์. (2553). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.สังกั ดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หนึ่งฤทัย หาธรรม. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เอมิกา โตฉ่ำ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการ บริหาร การศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Buzzi. M. J. (1991). The relationship of school effectiveness to selected dimensions of principals instructional leadership in elementary school in the state of connecticut. Dissertation Abstracts International, 51, 12, 3167 – A.

Coleman, L. A. (2008). The role of school administrator as knowledge manager: A process for school improvement. Ilinois: Northern Illinois University.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and internal structure of test. Psychometrika, 6, 297-334.

Aikens, A.M. (2002). Parental Involvement : The Key to Aacademic Success, Dissertation Abstracts Internationa. 63(6): 2105–A.

Gentry, C.G. (2002). A Case Study : The Issues High School Principals Encounter with Instructional Supervision. Dissertation Abstracts International.63(8): unpaged.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2024

How to Cite

ศรีเพชร ส. ., & ด้วงสำราญ ข. (2024). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐาน คุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา นครปฐม เขต 2. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 7(2), 101–112. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/2670