พุทธกระบวนทรรศน์ทางปรัชญาของการตื่นรู้เพื่อการเสริมสร้างความสุขในสังคมหลังนวยุค

ผู้แต่ง

  • พระชนินสิทธิ์ สุทฺธิจิตฺโต (ภูเมศโปสยานนท์) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

พุทธกระบวนทรรศน์, ปรัชญาของการตื่นรู้, การเสริมสร้างความสุข, สังคมหลังนวยุค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนทรรศน์ทางปรัชญาของการตื่นรู้เพื่อการเสริมสร้างความสุขในสังคมหลังนวยุค 2) ศึกษาพุทธกระบวนทรรศน์ทางปรัชญาของการตื่นรู้ 3) บูรณาการพุทธกระบวนทรรศน์ทางปรัชญาของการตื่นรู้เพื่อการเสริมสร้างความสุขในสังคมหลังนวยุค 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการเสริมสร้างความสุขในสังคมหลังนวยุคด้วยหลักพุทธกระบวนทรรศน์ทางปรัชญาของการตื่นรู้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

          ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการการตื่นรู้ของมนุษยชาติจากสังคมก่อนนวยุค นวยุคและหลังนวยุคได้ก่อให้เกิดคุณูปการความก้าวหน้าที่เป็นประโยชน์มหาศาล ขณะเดียวกัน ได้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในสังคมดิจิทัลในกับดักของการบริโภคนิยม จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางศีลธรรม การศึกษา การอยู่ร่วมกัน พุทธกระบวนทรรศน์ทางอภิปรัชญาได้นำเสนอหลักไตรลักษณ์ ทางญาณวิทยาเกี่ยวกับกระบวนการของปัญญา และทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับศีล กุศลกรรมบถ และอริยมรรคมีองค์ 8 จนนำมาเป็นหลักไตรสิกขา การบูรณาการพุทธกระบวนทรรศน์ของการตื่นรู้ในสังคมหลังนวยุคเป็นการดำเนินชีวิตด้วยการอยู่ด้วยปัญญา ดำรงตนด้วยไม่ประมาทในชีวิต วัย และการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ด้วยการใช้แนวทางมัชฌิมาปฏิปทา ดำรงตนอย่างมีสติสัมปชัญญะ มีวิจารณญาณไตร่ตรองอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีการตื่นรู้เพื่อแยกแยะสิ่งดี สิ่งไม่ดี สิ่งที่มีคุณ สิ่งที่ไม่มีคุณ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ตามสภาพความเป็นจริง รับข่าวสารเท่าที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้คือ MWLJH

References

จำลอง ดิษยวณิช และพริ้มเพรา ดิษยวณิช. (2547). ภาวะสุขภาพจิตกับการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด.

ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ. (2557). จิตวิทยาในพระไตรปิฎก. พิษณุโลก: บริษัท โฟกัส ปริ้นตี้ง จำกัด.

.(2559ก). จิตวิทยาแนวพุทธ. พิษณุโลก: บริษัทโฟกัส ปริ้นติ้ง จำกัด.

ประเวศ วสี. (2563, [ออนไลน์]). เข้าถึงที่ www.ruchareka.wordpress.com/tag/การตื่นรู้. สืบค้น เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563.

พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์). (2555). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบัน. ดุษฎีนิพนธ์ศาสนศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระนราศักดิ์ วรธมฺโม. (2564, เมษายน-มิถุนายน). พุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนามนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8 (2): 27-39.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 11, , 20, 21, 31. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิกรม กรมดิษฐ์. (2555). คาถาชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำกัด.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2561). การนำกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุค และพุทธปรัชญามาสร้าง สังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย 4.0. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา, วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2023

How to Cite

สุทฺธิจิตฺโต (ภูเมศโปสยานนท์) พ. ., อโณทัย ส. ., & บุญโท ส. . (2023). พุทธกระบวนทรรศน์ทางปรัชญาของการตื่นรู้เพื่อการเสริมสร้างความสุขในสังคมหลังนวยุค. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(1), 327–337. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/2924