นิรุตติปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในเชิงวาทกรรมตามที่ปรากฏในมิลินทปัญหา
คำสำคัญ:
นิรุตติปฏิสัมภิทา, วาทกรรม, มิลินทปัญหาบทคัดย่อ
ผลการวิจัยพบว่าการใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา สามารถสรุปได้ว่า พระวินัยปิฎก เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาเพื่อการแสดงธรรมและบัญญัติพระวินัย, พระสุตตันตปิฎก เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาเพื่อการแสดงแนวทางการปฏิบัติธรรมทุกระดับ มีตามหลักไตรสิกขา และยกเนื้อเรื่องประกอบการแสดงธรรม เป็นต้น, พระอภิธรรมปิฎก เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาเพื่อการอธิบายสภาวะปรมัตถ์ มียกข้อมูลเชิงตรรกะในกถาวัตถุ เป็นต้น, คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทารูปแบบตั้งคำถามและอธิบายคำตอบด้วยการชี้แจงความหมาย ลักษณะ อาการ อานิสงส์ คุณและโทษ เป็นต้น, คัมภีร์มงคลทีปนี เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาอธิบายวิธีปฏิบัติตน ปฏิบัติต่อบุคคล สังคมและการพัฒนาจิต เป็นต้น, อรรถกถาธรรมบท เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาแบบเล่านิทานแสดงแบบอย่างวิธีปฏิบัติ ประกอบการยกอุปมาเชิงรูปธรรมเปรียบเทียบนามธรรม เป็นต้น
การใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาในคัมภีร์มิลินทปัญหา สรุปได้ 7 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบอธิบายสมมติปรมัตถ์ 2) รูปแบบอธิบายสภาวธรรม 3) รูปแบบอธิบายอานิสงส์ เป็นวิจยหาระและอธิฏฐานหาระ 4) รูปแบบใช้ตรรกะ 5) รูปแบบอุปมาอุปมัย 6) รูปแบบใช้อุปกรณ์อธิบาย 7) รูปแบบให้แนวทางปฏิบัติ
การสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา ด้วยเหตุปัจจัยให้เกิดความแตกฉาน คือ 1) ประเด็นปัญหาที่ยกขึ้นพิจารณา 2) การตรวจสอบค้นคว้าศึกษาความเป็นไปได้ของสมมติฐาน 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทิศทางที่เป็นเอกภาพของการแก้ปัญหา 4) การยกตัวอย่างเชิงประจักษ์บนพื้นที่ทดลอง 5) สัมฤทธิผลของวาทกรรม ในรูปแบบ PHUSA Model
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2538). ตรรกศาสตร์ ศิลปะแห่งการนิยมความหมายและการให้เหตุผล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บล๊อก OKnation. ความหมายของวาทกรรม. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น: http://oknation.nationtv.tv/blog/ print.php?id=281466. [25 ธันวาคม 2564].
พระติปิฎกจูฬาภยเถระ รจนา. (2559). คัมภีร์มิลินทปัญหาภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย..
พระมหานามเถระ รจนา. (2559). สัทธัมมปกาสินีภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟินเลย์สัน เจมส์ กอร์ดอน. (2559). ฮาเบอร์มาส: มนุษย์กับพื้นที่สาธารณะ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 31, 37. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2559). แผนยุทธศาสตร์พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนโครงการพระสอนศีลธรรม-ในโรงเรียน พ.ศ. 2559. นครปฐม: สำนักงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2548). เนตติปกรณ์ (บาลี-ไทย). โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น ชำระและแปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (25456). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:: ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). การปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. รายงานการวิจัย. นครปฐม: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.