พุทธอรรถปริวรรตศศาสตร์ว่าด้วยอนัตตาเพื่อการสร้างเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • พระปลัดบุญมี คุณากโร (โพธิศรีสม) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

พุทธปรัชญา, พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์, สังคมพหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษามโนทัศน์สังคมพหุวัฒนธรรม 2) ศึกษาพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยอนัตตา 3) การบูรณาการพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยอนัตตาเพื่อการสร้างเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม  4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการสร้างเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมด้วยอนัตตา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการวิจัยเชิงค้นคว้า วิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทางปรัชญาและศาสนา  

          ผลการวิจัยพบว่า สังคมพหุวัฒนธรรม เป็นสังคมที่มีลักษณะรวมศูนย์อย่างหลากหลายของชาติพันธุ์และแหล่งกลืนกันทางวัฒนธรรมมนุษย์ ทั้งนี้ เกิดจากความต้องที่สอดคล้องกันในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีกว่าจึงไหลรวมเข้าหากัน โดยคงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตนสำนึกร่วมหนึ่งเดียวไว้จึงเกิดกระแสความขัดแย้งแบ่งแยกขึ้น แม้จะมีแนวคิดพหุวัฒนธรรมร่วมแก้ไขแต่ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เพราะความขัดแย้งดังกล่าวเกิดจากกิเลสความยึดถือในตัวตน อัตลักษณ์ของมนุษย์ แนวทางการแก้ไขจึงต้องอาศัยพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยอนัตตา เพื่อสร้างความเข้าใจในความเห็นต่างเรื่องตัวตนที่ถูกต้อง และเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ผู้วิจัยจึงได้กำหนดรูปแบบเครื่องมือวิชาการเกี่ยวกับปรัชญาหลังนวยุคเพื่ออธิบายเจตนาที่แท้จริงในโครงสร้างของภาษาศาสตร์ เพื่อให้มนุษย์ได้เข้าใจความจริงตามกฎแห่งธรรมชาติว่า สรรพสิ่งล้วนเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน โดยแบ่งตามหลักวิภัชวาทและอุปมา ความเป็นจริงเรื่องตัวตนสากลและหลักความสุขในปัจจุบัน สามารถสร้างความเข้าใจในทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติด้วยปัญญา เพื่อให้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมได้รับรู้สู่การปฏิบัติร่วมกัน เพื่อขจัดความขัดแย้งและแบ่งแยกทางวัฒนธรรมพื้นฐานสี่ประการ คือ ด้านชาติพันธุ์  ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านความเชื่อทางศาสนาที่เกิดจากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมให้สังคมมีทัศนคติที่ถูกต้อง มีระเบียบสังคมอย่างเท่าเทียมทางวัฒนธรรมด้วยความเคารพกัน อยู่ร่วมกันอย่างรู้รักสามัคคี มีเมตตา เอื้ออาทร เป็นสังคมอุดมคติสร้างสันติสุขในการร่วมกันสืบไป  รูปแบบองค์ความรู้ใหม่ ผู้วิจัยได้กำหนดสูตรว่า  C+S+M = M+S Model

References

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 23. (ออนไลน์) แหล่งข้อมูล: https://www.saranukromthai.or.th. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2564.

ณัฎฐาพรรณ กรรภิรมย์พชิรา. (2562). ศึกษาหลักธรรมอนัตตาในคัมภีร์พระไตรปิฎก. วารสารมจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ 3 (1) (มกราคม – มิถุนายน): 112-115.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา.(2557). ความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สมมุติ.

ธีรยุทธ บุญมี. (2547). ชาตินิยมหลังชาตินิยม. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.

บัณฑิต ไกรวิจิตร. (มกราคม - มิถุนายน 2563). พหุนิยมทางวัฒนธรรม ในช่วงเวลาวิกฤติ. วารสารไทยคดีศึกษา. 17 (1): 150-184.

ประเวศ อินทองปาน. (2563). ศาสนาเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระมหาเทพรัตน์ อริยวํโส (เรืองศรี). (2558). การสร้างศาสนสัมพันธ์ของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของท่านพุทธทาสภิกขุ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขา ปรัชญาและศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

พระมหาประสิทธิ์ แก้วศรี. (2563). การปรับตัวของนักเรียนไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา นักเรียนไทยในดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(11). พฤศจิกายน: 32-34.

พระมหาสุรชัย พุดชู. (2560). พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยจิตเดิมแท้ในกระบวนการพัฒนาปัญญา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาปรัชญาและศาสนา. วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พัณณมาศ พิชิตกุล และคณะ. (2531). ขอบข่ายภูมิศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

ศิริจิต สุนันต๊ะ. (2556). สถานการณ์โต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 32 (1) (มกราคม – มิถุนายน) หน้า 5

สวัสดิ์ อโณทัย. (2558). วิธีการสร้างความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการวารสาร

เซนต์จอห์น 18 (22) (มกราคม-พฤษภาคม). หน้า 166-167.

สิทธิโชค ปาณะศรี. (2558) การธำรงอัตลักษณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรมมองผ่านแนวคิดปรัชญา หลังนวยุคของมิเชล ฟูโกต์: กรณีศึกษาภิกษุสยาม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขา ปรัชญาและศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

Will. K. (2010). The rise and fall of multiculturalism? New debates on inclusion and accommodation in diverse societies. International Social Science Journal. 61(199).

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023