การพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาวัดละเอียดด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD)
คำสำคัญ:
การวัดละเอียด, ความสามารถในการอ่านค่าเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชาวัดละเอียด เรื่องการวัดและอ่านค่าเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) กับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 32 คน ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียนซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวัดและอ่านค่าเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ วิชาวัดละเอียด ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( STAD )แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนละแบบสอบถามวัดความพึงพอใจภายหลังการเรียนรู้เรื่องการวัดและอ่านค่าเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ วิชาวัดละเอียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการเรียนมากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
จิรากร สำเร็จ. (2551). การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิราณี เมืองจันทร์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบผสมผสานเรื่องคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นฤมล นาดสูงเนิน. (2552). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 เรื่องสินทรัพย์หนี้สินส่วนของเจ้าของ (ทุน) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). ทิศทางการศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมาย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักเอมพันธ์ จำกัด.
ไสว ฟักขาว. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักเอมพันธ์ จำกัด.
Johnson D.W., Johnson, R.T. (1987). Research shows the benefits of adult cooperation. Educational Leadership. NewyorkPress.
Slavin. (1990). Learning Cooperative and the cooperative school. Educational Leadership. 45, pp. 7-13, NewyorkPress.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิจัยธรรมศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.