ระดับจริยธรรมและการแสดงออกทางจิตสำนึกที่มีต่อการขาดวินัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
จริยธรรม, จิตสำนึก, วินัยบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ระดับจริยธรรมและการแสดงออกทางจิตสำนึกที่มีต่อการขาดวินัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการแสดงออกทางจิตสำนึกที่มีต่อการขาดวินัยในสังคมไทย ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้ศึกษาค้นคว้าจากตํารา เอกสาร งานวิจัย รวมถึงการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการสนทนากลุ่ม โดยนํามาวิเคราะห์จึงได้ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ผลการวิจัย พบว่า การแบ่งจริยธรรมในสังคมไทยแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับจริยธรรมตามหลักคำสอนทางศาสนา ได้แก่ความประพฤติตามครรลองการดำเนินชีวิตของศาสนิกเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขร่วมกัน และความประพฤติที่เป็นไปตามครรลองการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของศาสนาของแต่ละคน 2) ระดับจริยธรรมตามรูปแบบความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกต่อสังคมโดยรวม และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น (1) ระดับที่ยึดส่วนตัวเป็นหลัก (2) ระดับที่ยึดส่วนรวมคือสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
สาเหตุของการขาดจิตสำนึกที่ดีมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ที่ขาดจิตสำนึกอาจเป็นเพราะบุคคลไม่ได้รับการสั่งสอนที่ถูกต้องจากครอบครัว ไม่ได้รับการสั่งสอนศีลธรรมที่มากพอตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลให้บุคคลมีจิตใต้สำนึกที่ไม่ดีและมีพฤติกรรมที่อาจเบี่ยงเบนไปจากความถูกต้องหรือเหมาะสมตามที่สังคมยอมรับ แต่ในทางกลับกันถ้าบุคคลได้รับการอบรมสั่งเรื่องศีลธรรมความดีงามอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ ตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้บุคคลซึมซับความถูกผิด ดีชั่ว มีมโนธรรมในใจ มีจิตใต้สำนึกที่ดี ซึ่งจะส่งผลมาถึงการมีจิตสำนึกที่ดี ส่งผลต่อการเลือกตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งที่เป็นความถูกผิดดีชั่ว ควรทำหรือไม่ควรทำ
References
กฤษฎาภรณ์ รุจิธำรงกุล. (2558). อิทธิพลด้านจิตสำนึกคุณธรรมความถูกต้องและความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาสายงานบริหารธุรกิจ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(2),84-84.
ชายแดน เดชาฤทธิ์, อัญชลี ชยานุวัชร. (2561). การศึกษาประสบการณ์การทำผิดวินัยของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 4(1), 19-20.
ประไพรัตน์ ลำใจ. (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2(2), 64.
พระครูใบฎีกาสุบิน โสภโณ. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนในจังหวัด เชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2), 73.
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2551). การยกระดับคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม: แนวทางและการปฏิบัติ. รายงายการวิจัย.
เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์, ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2557). รับค่านิยมที่ผิดจะกลายเป็นบัณฑิตขาดจิตสำนึก.วารสารมหาวิทยาลัยนครพน, 4(2), 1.
แพง ชินพงศ์. วินัยที่เด็กไทยต้องมี. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564, จาก shorturl.asia/wxBVX.
มาลี บุญมาก. (2556). ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษากรณีศึกษา อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.