การตีความเชิงปรัชญากับความเมตตาต่อสัตว์
คำสำคัญ:
การตีความ, เมตตา, สัตว์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการตีความเชิงปรัชญาเพื่อสร้างคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับความเมตตาต่อสัตว์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิจัยทางปรัชญา โดยรวบรวมข้อมูลหลักประเภทเอกสารนำมาสู่การตีความเชิงปรัชญาของกาดาเมอร์ตามทฤษฎีการหลอมรวมครอบฟ้าตามผู้อ่าน ผลการวิจัย พบว่า 1. สารัตถะของสัตว์มี 3 สถานะ คือ 1) เป็นสิ่งของ เนื่องจากมีทรรศนะว่าสัตว์มีชีวิตแต่ไม่ได้มีจิตวิญญาณ 2) สัตว์มีชีวิตและมีจิตวิญญาณ แต่เป็นในระดับต่ำ และ 3) สัตว์มีชีวิตและมีจิตวิญญาณเหมือนกับมนุษย์ 2. คุณค่าของสัตว์มี 3 ระดับ ได้แก่ 1) ความเป็นสิ่งของ 2) ความเป็นเจ้าของ และ 3) ความเป็นเพื่อน 3. ความเมตตาต่อสัตว์เป็นคุณธรรมข้อสำคัญที่มนุษย์ควรที่จะประพฤติเป็นประจำ มี 2 ระดับ ได้แก่ 1) การมีเมตตาต่อสัตว์ในรูปแบบความสัมพันธ์ฉัน-มัน จึงเน้นไปที่การเกื้อกูลดูแล และให้เสรีภาพแก่สัตว์ และ 2) การมีเมตตาต่อสัตว์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบฉัน-เธอ ปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยการให้เกียรติกัน เป็นมิตรต่อกัน และไม่ล่วงเกินเบียดเบียนกัน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นหลักทำความเข้าใจพื้นฐานความเมตตาของมนุษย์ที่มีต่อสัตว์ได้ในบริบท ต่าง ๆ กัน
References
ปวงชน อุนจะนำ. (2563). สัตว์กับสิทธิ: ทฤษฎีการเมืองว่าด้วยการปลดปล่อยสัตว์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1): 119-160.
พระครูกิตติภัทรานุยุต (จักรินทร์ มาชวน). (2565). ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องสิทธิสัตว์ในพุทธปรัชญากับมุมมองของปีเตอร์ ซิงเกอร์. วารสารปรัชญาอาศรม, 4(2): 16-33.
วิมุตติมรรคแปล. (2541) แปลโดย พระราชวรมุนี และคณะ. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์สยาม.
วริษา สุขกำเนิด. (2567). รศ.ดร.ยุติ มุกดาวิจิตร: ว่าด้วย คนกับสัตว์ ที่ไม่รู้ใจ แต่ใช้ชีวิตร่วมกันได้. บทความ. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก https://think.moveforwardparty.org/article/environment-and-resources/4184/?fbclid=IwAR2J3S7D5pewh0bHmWOxzUe-vpbcmhh9Oh4HE9iwhql4hWRW2c--DCxAC3g
เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). คน สัตว์ สวนสัตว์: จริยธรรมแห่งการดูแล. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 14(3): 105-16.
Buber, M. (2000). I and You. Trans by Smith, RG. London, Scribner classics.
Wasantayanan, C., Bunchua, K., Takeaw, R. (2021). The ethical status of animals in perspective of moderate postmodern paradigm: An analytic, appreciative and applicative study. Parichart Journal Thaksin University. 34(3): 166-181.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยธรรมศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.