การเจรจาต่อรอง: กระบวนการ หลักการและกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • ประเทือง ภูมิภัทราคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ปฏิธรรม สำเนียง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • วิโรจน์ เจษฎาดิลก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • Weijian Dong คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • Hong Zhon คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

การเจรจาต่อรอง, กระบวนการ, หลักการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและชีวิตประจำวัน การเจรจาต่อรองเป็นกระบวนการที่คู่เจรจาใช้กลยุทธ์เพื่อแก้ไขความขัดแย้งและหาข้อตกลงร่วมกัน โดยมีการให้และรับเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน แบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ การเจรจาแบบแบ่งสันปันส่วนและการเจรจาแบบบูรณาการ หลักการสำคัญประกอบด้วย การกำหนดทางเลือกที่ดีที่สุดหากไม่บรรลุข้อตกลง การกำหนดราคาการตัดสินใจ การกำหนดขอบเขตที่สามารถตกลงกันได้ และการสร้างคุณค่าผ่านการแลกเปลี่ยน นักเจรจาต่อรองจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างรอบด้าน กำหนดองค์ประกอบพื้นฐาน และวางกลยุทธ์ที่เหมาะสม กลยุทธ์การเจรจาเริ่มตั้งแต่การสร้างแรงจูงใจให้อีกฝ่ายเข้าร่วม การสร้างบรรยากาศที่ดีในการเริ่มต้น และการใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับประเภทของการเจรจา อุปสรรคที่อาจพบ ได้แก่ การเผชิญกับนักเจรจาที่พยายามเอาเปรียบ ความไม่ไว้วางใจ การขาดข้อมูลที่เพียงพอ อุปสรรคเชิงโครงสร้างขององค์กร ความแตกต่างทางเพศและวัฒนธรรม การมีผู้ร่วมเจรจาที่ไม่สร้างสรรค์ และปัญหาด้านการสื่อสาร สรุปได้ว่า ความเข้าใจในหลักการและองค์ประกอบของการเจรจาต่อรอง รวมถึงการเตรียมตัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเจรจาต่อรอง

References

ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม. ทำความเข้าใจกับการเจรจาต่อรอง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://mgtsci.stou.ac.th/ [16 มิถุนายน 2567].

ธีทัต ตรีศิริโชติ. แนวคิดหลักการและขั้นตอนการเจรจาต่อรองข้ามชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https//slideshare.net/ [18 มิถุนายน 2567].

มงคล ตันติสุขุมาล. การเจรจาต่อรองและไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://expc-spd.moph.go.th/ [17 มิถุนายน 2567].

มิเชล วัตกินส์. (2550). การเจรจาต่อรอง. แปลโดยไพโรจน์ บาลัน. กรุงเทพมหานคร :มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.

ภาณุมาศ ฉัตรพิทักษ์โชติ. การเจรจาต่อรอง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https//slideshare.net/ [24 มิถุนายน 2567].

สำนักฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ. 4 หลักการเจรจาต่อรองให้สำเร็จ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https//dst.co.th/ [18 มิถุนายน 2567].

Bazerman, MaxH. and Neale, Margaret A. (1992). Negotiation Rationally.New York : Free Press.

Dhir Rajeev. Negotiation. [Online]. Retrieved from: https://www.investopedia.com/[17 June 2024].

Gordon, Mark. (1999). “Win-Win with Mark Gordon” Harvard Management Communication Letter. Manch.

Kolb DM, Williams J. (2001). Breakthrough bargaining. Harvard Business Review. Feb;79(2):88-97, 156.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025

How to Cite

ภูมิภัทราคม ป. ., สำเนียง ป. ., เจษฎาดิลก ว. ., Dong , W. ., & Zhon , H. . (2025). การเจรจาต่อรอง: กระบวนการ หลักการและกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 8(1), 35–54. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/6375