การจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การจัดสวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, ศูนย์พัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)เพื่อศึกษา การจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบระดับการจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ อายุ และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ 3) เสนอแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุจากแต่ละศูนย์ทั่วประเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจากแต่ละศูนย์ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งหมด 1,282 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุแต่ละศูนย์ที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One ? Way ANOVA หรือ F-test ค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านที่พักและศูนย์บริการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านการศึกษา และด้านนันทนาการ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยจำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน? 3. เสนอแนะแนวทางความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐควรเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ควรส่งเสริมดำเนินการให้มีการจัดตั้งชมรมหรือเครือข่ายของผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ เพิ่มเงินเบี้ยยังชีพรายเดือน
References
กนกวรรณ กรศรี. (2554). แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตากในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวง. (2547). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ.
จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และคณะ. (2556). การสูงวัยของประชากรในประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรรณี สมเทศน์. (2552). การดูแลผู้สูงอายุในระดับครอบครัว กรณีศึกษาบ้านนาศรีดงเค็ง ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วันเพ็ญ ปัณราช. (2552). การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อ่อนนุช อิสราพานิชย์. (2553). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อบริการของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
Friedman, M. (1982). Capitalism & Freedom. Chicago : Theuniversity of Chicago Press.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.