ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2019): วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562)

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2  ในปี พ.ศ. 2562 นี้ ทางกองบรรณาธิการได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI ดังเช่นที่เคยทำมา  พร้อมทั้งได้พยายามสรรหาบทความวิชาการจากส่วนงานต่างๆ มาร่วมสร้างสรรค์เป็นผลงานวิชาการให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ก็ยังรักษามาตรฐานทางวิชาการอีกต่อไป

วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  1. เรื่องไร้สาระในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (Nonessential in the text of Buddhism) โดย พระจาตุรงค์ ชูศรี ผู้เขียนนำเสนอประเด็นว่าด้วยคำว่า ?ไร้สาระ? จากการสืบค้นคำในพระไตรปิฎก ฉบับ มจร โดยได้พบเนื้อความเบื้องต้น 8 ประเด็นที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นอย่างไรคือ 1. ความเชื่อว่าขาดสูญเป็นคำพูดที่ไร้สาระ 2.ความเชื่อในไตรเพท 3. ความรู้ชัดในสิ่งที่ดีงาม  4. การไม่ให้ผลของทาน  5. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  6. ว่าด้วยการกล่าวคำที่ไร้สาระ  7. ว่าด้วยการกล่าวคำที่ไร้สาระ และ 8. เรื่องกายที่ไร้สาระ
  2. วิเคราะห์คุณค่าทางปรัชญาในประเพณีวันสงกรานต์ (Analyzing Philosophical Values in the Songkran Festival) โดย พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร บทความนี้กล่าวถึงคุณค่าทางปรัชญาที่อยู่ในประเพณีวันสงกรานต์ โดยการคิดค้นของบรรพชนที่มีการถ่ายทอดและสืบต่อ ๆ กัน ทำให้สังคมไทยมีลักษณ์ที่โดดเด่น ประเพณีสงกรานต์นี้ เป็นปรัชญาที่มากด้วยคุณค่า จริยศาสตร์ที่เป็นปรัชญา สร้างคุณค่าอันเป็นกิจวัตรให้กับมนุษย์ในการดำเนินชีวิต กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันสงกรานต์ สร้างความรักระหว่างครอบครัว ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย ศาสนา อันเป็นคุณค่าทางปรัชญาที่ปรากฏอยู่ในประเพณีวันสงกรานต์ และคู่สังคมไทยจนถึงปัจจุบัน
  3. พระพุทธศาสนากับสังคมไทย (Buddhism and Thai society) โดย พระราชรัตนมงคล สรุปว่า พระพุทธศาสนามีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศเนปาล-อินเดีย และได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 2300 ปีมาแล้ว หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงได้เป็นรากฐานสำคัญทางด้านภาษา ศิลปวัฒน ธรรม ประเพณีของไทยมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ชายไทยต้องบวชเป็นพระภิกษุในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งประเพณีนี้สืบเนื่องมาจากในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวงเมื่อ 735 ที่ผ่านมา ในครั้งนั้นพระมหากษัตริย์ได้ผนวชในพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นประเพณีที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน การส่งเสริมพระพุทธศาสนาของไทยมีสถาบันสำคัญ 3 สถาบัน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคง พระพุทธศาสนาในประเทศไทยได้เผยแผ่ไปทั่วโลก ทั้งนี้ เพราะเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงความสงบทางจิตใจอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมในประเทศไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  4. ความเป็นมาและพัฒนาการของลัทธิเต๋า (History and development of Taoism) โดย พนมกร คำวัง สรุปว่า เต๋าคือดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ตัดความฟุ้งเฟ้อ เลิกละการศึกษาเล่าเรียน หยุดสร้างวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆ หากมนุษย์กลับเข้าหาเต๋า ก็ย่อมจะมีความสงบสุขอย่างดื่มด่ำ ลัทธิเต๋าสอนให้มนุษย์ดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติ ให้เรียนรู้ธรรมชาติและวิธีปฏิบัติให้สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ขัดขืนหรือฝ่าฝืนต่อธรรมชาติ ดังนั้น คำสอนของลัทธิเต๋าจึงคล้ายคลึงกับคำสอนของพุทธศาสนาในแง่อุดมคติชีวิตหรือจุดหมายสูงสุดของชีวิต หมายความว่าสภาวะของเต๋าคล้ายกับสภาวะของนิพพานในพุทธศาสนานั่นเอง สรุปแล้ว เล่าจื๊อสอนให้เอาเต๋าเป็นอุดมคติชีวิต ทั้งในด้านเศรษฐกิจการเมือง การปกครอง และสังคม เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างสมดุลหรือเป็นทางสายกลาง
  5. ศึกษาพระพุทธศาสนามหายานในโลกตะวันตก : อดีตถึงปัจจุบัน (A Study of Mahayana Buddhism In the western world: Past to Present) โดย จารุวรรณ นุแรมรัมย์ และคณะ สรุปว่า สิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยว นับถือ และศรัทธา คือ ?ศาสนา? อนึ่ง ศาสนาทุกศาสนาล้วนสอนให้คนเป็นคนดีทั้งสิ้น ส่วนพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนาที่มีความเก่าแก่และมีหลักคำสอนที่มีความสมเหตุสมผลและสามารถพิสูจน์ได้ จึงมีผู้คนที่นับถือพระพุทธศาสนามายมาย อิทธิพลของพระพุทธศาสนานั้นได้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา และยังได้เผยแผ่ไปยังนานาประเทศในตะวันออก ระยะต่อมาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระพุทธศาสนาได้เริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น โดยพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นก็คือนิกายมหายาน จวบจนถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนามหายานก็เจริญเติบโตในฝั่งตะวันตกเรื่อยมา
เผยแพร่แล้ว: 02/13/2022