แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความคงอย่ในองค์การของลูกจ้างเหมาแรงงาน การประปานครหลวง สายงานรองผู้ว่าการ (ผลิตและส่งนํ้า)

ผู้แต่ง

  • ยลมาลย์ บุญสาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปราณี ตรีทศกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ความคงอยู่ในองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคงอยู่ในองค์การของลูกจ้างเหมาแรงงาน สายงานรองผู้ว่าการ (ผลิตและส่งน้ำา) จําแนกตามลักษณะข้อมูลส่วนบุคคล และศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความคงอยู่ในองค์การของลูกจ้างเหมาแรงงานของการประปานครหลวง สายงานรองผู้ว่าการ (ผลิตและส่งนํ้า) จํานวน 227 คน ใช้แบบสอบถามเป็ นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความ แตกต่าง ใช้การหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน ผลศึกษาพบว่า

ลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี มีรายได้ ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท มีสถานภาพครอบครัว สมรส มีภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว มีระดับการศึกษาชั้นสูงสุดคือ ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า อายุงาน 5-10 ปี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานรายด้าน ได้แก่ ด้านความสําเร็จของงาน ด้านความมั่นคงในการทํางาน ด้านสภาพการทํางาน ด้านชีวิตส่วนตัว อยู่ในระดับมาก และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งงาน ด้านลักษณะของงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านนโยบายการ บริหาร ด้านรายได้ เงินเดือน อยู่ในระดับน้อย ความคงอยู่ในองค์การโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความ ผูกพันต่อองค์การ และ ด้านการรับรู้ว่าไม่เลือกงานอื่น อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความไม่ตั้งใจลาออก จากงาน อยู่ในระดับมาก

ลูกจ้างเหมาแรงงานที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคงอยู่ในองค์การโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้าน ความผูกพันในองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลําดับ ลูกจ้างเหมาแรงงานที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคงอยู่ในองค์โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความไม่ตั้งใจ ออกจากงานและด้านความผูกพัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ลูกจ้างเหมาแรงงาน ที่มีระดับ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคงอยู่ในองค์การด้านการรับรู้ว่าไม่เลือกงานอื่นแตกต่างกัน อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ลูกจ้างเหมาแรงงาน ที่มีอายุงานแตกต่างกัน มีความคงอยู่ในองค์การ โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความผูกพัน ด้านการรับรู้ว่าไม่เลือกงานอื่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสําเร็จของงาน ด้านการได้รับการ ยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งงานและด้านลักษณะของงาน มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ ในองค์การด้านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมี ความสัมพันธ์กันในระดับ ปานกลาง ตํ่า ปานกลาง ปานกลาง และตํ่า ตามลําดับ และเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสําเร็จของงาน ด้านการได้รับการ ยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งงาน ด้านลักษณะของงาน และด้านสภาพการทํางาน มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในองค์การด้านการรับรู้ ไม่เลือกงานที่อื่น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 01 .05 .01 .01 .01 และ .01 ตามลําดับ โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ตํ่า ตํ่า ปานกลาง ตํ่า และตํ่า ตามลําดับ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสําเร็จของงาน ด้านการได้รับการ ยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งงาน ด้านลักษณะของงาน มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ใน องค์การโดยรวมของลูกจ้าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปาน กลาง ตํ่า ปานกลาง ปานกลาง และปานกลาง ตามลําดับ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

References

จารุพรรณ รถทอง.(2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานสายวิชาชีพในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี.

จิรัสย์ พุฒิจรัสพงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทเชฟรอน ประเทศไทย สํารวจและผลิต จํากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูเกียรติ ยิ้มพวง. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา บริษัท บางกอกกล๊าส จํากัด โรงงานจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี.

ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดิเรก อัสถิ ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ และอมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษในเขตภาคกลาง. สยามวิชาการ, 15 (ฉบับที่ 25), 29-46.

ธนัญพร สุวรรณคาม. (2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทํางาน ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคล ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงเยาว์ แก้วมรกต. (2542). ผลของการรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิศาชล ภูมิพื้นผล. (2559).ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท เดลแมกซ์ แมชินเนอรี่ จํากัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปฐมวงค์ สีหาเสนา. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตําบลค่ายเนินวง ตําบลบางกะ จะ อําเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี.งานนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยะนุช โสคติ. (2554). แรงจูงใจและการรับรู้ความเครียดจากการทํางานที่มีผลต่อการตั้งใจลาออกของ พนักงานบริษัทแรงงานภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ สํานักงานการบินไทย สาขาหลานหลวง. การศึกษาเฉพาะบุคคล บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทํางานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภา ระดับปฏิบัติงาน สํานักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

วรรณี บุญเผ่า. (2554). ปัจจัยคํ้าจุนและปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรในองค์การธุรกิจ เวชภัณฑ์ยารักษาโรคแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณี วิริยะกังสานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วรารักษ์ ลีเลิศพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท เนชั่น บรอดแคส ติ้ง คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน). การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ศศิ อ่วมเพ็ง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจลาออกของพนักงานระดับบังคับบัญชา สํานักงานบัญชี กลาง บริษัท ป นซีเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) ู . การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารพัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สวรรณกมล จันทรมะโน และ ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั ้งใจที่จะลาออกจาก งานของพนักงาน สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน. วารสารวิชาการ Veridian EJournal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(1), 525-541.

สุธิดา คิวานนท์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในงานกับความตั้งใจเปลี่ยนงานของบุคลากรสาย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรารักษ์ ศักดิธรรมเจริญ. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผกพันของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อมรรัตน์ สว่างอารมย์. (2549). ปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทํางาน และความพึงพอใจใน งานกับความตั้งใจลาออกจางานของพนักงานฝ่ายผลิต: กรณีศึกษาโรงงานผลิตขนมปัง ตัวอย่าง. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Buchanan, H.B. (1974). Building Organization Commitment: The Socialization of Managers in Work Organization. Administrative Science Quarterly, 19, 533-546.

Gaertner, K.N. and Nollen, S.D. (1992). Turnover Intentions and Desire among Executives. Human Relations, 45(5), 447-465.

Heneman III, H.G. and Judge, T.A. (2003). Staffing Organizations (4th ed.). Middleton, WI: McGraw-Hill/Mendota House.

Herzberg, F. (1993). Motivation to Work (Reprint ed.). London: Routledge.

Steers, R.M. and Mowday, R.T. (1981). Employee Turnover and Post-decision Accommodation Process. In Cummings, L.L. and Staw, B.M. (editors). (1981). Research in Organizational Behavior. Amsterdam: Elsevier Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25