การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีต่อพนักงาน ในช่องทีวีดิจิทัลของเอกชนและรัฐบาล

ผู้แต่ง

  • ชโลธร เดชบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • ทิพย์รัตน์ แสงเรืองรอบ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การศึกษาเปรียบเทียบ, ช่องทีวีดิจิทัล, ปัจจัยที่มีต่อพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะงาน นโยบาย ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ร่วมงาน สวัสดิการ ภาวะผู้นําและการติดต่อสื่อสาร ที่มีผลต่อพนักงานในช่องทีวีดิจิทัลระหว่างบริษัท G (เอกชน) กับ บริษัท N (รัฐบาล) โดยมีกลุ่มตัวอย่างบริษัทละ 200 คน รวมเป็ น 400 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็ นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็ นตัวแปรอิสระและใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ แบบทวิ (Binary Logistic Regression) ในการทดสอบสมมติฐานงานวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจที่เป็ นตัวแปรอิสระสามารถจัดกลุ่มปัจจัยที่มี ผลต่อพนักงานในช่องทีวีดิจิทัล ของบริษัท G และบริษัท N ได้ 7 ปัจจัย ประกอบด้วย ด้านลักษณะงานที่ น่าสนใจ (Job-Interest) ด้านลักษณะงานที่มีอิสระในการทํางาน (Job- Autonomy) ด้านนโยบาย (Policy) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน (Colleague) ด้านสวัสดิการ (Incentive) ด้านภาวะผู้นํา(Leadership) และด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) ส่วนผลการศึกษาวิเคราะห์การถดถอย โลจิสติกส์แบบทวิ พบว่า มี 5 ปัจจัยที่มีผลต่อพนักงานระหว่าง บริษัท G และ บริษัท N แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (โดยกําหนดให้บริษัท G กับ 0 และ บริษัท N เท่ากับ 1 ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ด้านลักษณะงานที่น่าสนใจ มีค่า B เท่ากับ 0.628 ปัจจัยที่ 2 ด้านลักษณะงานที่มีอิสระในการทํางาน มีค่า B เท่ากับ -0.480 ปัจจัยที่ 3 ด้านนโยบาย มีค่า B เท่ากับ -1.575 ปัจจัยที่ 4 ด้านสวัสดิการ มีค่า B เท่ากับ -1.764 ปัจจัยที่ 5 ด้านภาวะผู้นํา มีค่า B เท่ากับ -1.029 ส่วนปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ร่วมงานและด้านการติดต่อสื่อสารมีผลต่อระหว่าง บริษัท G และ บริษัท N ไม่แตกต่างกัน

References

กนิษฐา สุขสมัย และ ประสพชัย พสุนนท์. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 9-25.

กาญจนา ชุมสงค์ และชุติกร ปรุงเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการสื่อสารภายใน องค์การภาครัฐในจังหวัดสุรินทร์. บทความในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั ้งที่ 6 ประจําปี พ.ศ. 2562, วิทยาลัยนครราชสีมา.

เขมิกา กิตติพงศ์. (2558). ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท กรุงไทยธุรกิจบริการ จํากัด สํานักงานใหญ่อาคารสุขุมวิท. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี, 2(2), 51-62.

จิรภาวดี โสภณ. (2557). การบริหารจัดการทุนมนุษย์ในองค์การด้านโทรคมนาคม: ศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างวิสาหกิจภาครัฐและธุรกิจภาคเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(1), 95-107.

เจษฎา นกน้อย. (2559). การสื่อสารภายในองค์การ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลดรินทร์ ธนะศักดิเจริญ ์ และ บัณฑิตา อินสมบัติ. (2558). แรงจูงใจในการทํางานของพนักงานองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือ, 5(9), 135-152.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2558). การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊คส์. ธนวรรธ ตั ้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จํากัด.

นาถรัตดา หาญชัย จิตติ กิตติเลิศไพศาล และชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะงานกับความผกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดสกลนคร. บทความในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 “Research 4.0 Innovation and Development SSRU’s 80th Anniversary”, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นําและผู้นําเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จํากัด.

พนัชกร สิมะขจรบุญ. (2554). การศึกษาค่าตอบแทนและสวัสดิการของธุรกิจโรงแรมประเภทแฟรนไชส์ กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal SU กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 526-540.

พัฒนฉัตร ปราบหงษ์. (2562). แนวทางการส่งเสริมการคงอยู่ของครูโรงเรียนเอกชประเภทสามัญศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนปรียาโชติจังหวัดนครสวรรค์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1- 12.

พุธลักษณ์ มณีพรรณ และ บังอร ศรีพานิชกุลชัย. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริหาร องค์กร: กรณีศึกษาบริษัท ฟาร์มสุกร จํากัด (นามสมมุติ) จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัย บัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 69-86.

ไพโรจน์ ปิ ยะวงศ์วัฒนา. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรดนัย ใต้ไธสง. (2561). ความสุขในการทํางานของพนักงานบริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จํากัด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์), 8(1), 15-35.

มนัญชยา ยอแซฟ และ พิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2561). ปัจจัยและนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21, 194-205.

วนิดา ฉัตรสกุลไพรัช. (2557). ผลการชมละครโทรทัศน์เกาหลีกับการซึมซับค่านิยมและการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 6(1), 175-185.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์ นนทวัฒน์ สุขผล และณัฐพร วิรุฬหการุญ. (2561). ความพึงพอใจและความผูกพันต่อ องค์กรของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จํากัด. วารสารรังสิต บัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 104-120.

สาธิต ปานอ่อน ปภาวดี มนตรีวัต และจีระ ประทีป. (2556). คุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการใน กลุ่มเรือนจําเขต 7. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 95-106.

Herzberg, F. (1969). Work and the Nature of Man (3rd Printing ed.). New York: Thomas Y. Crowell Co.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25