ลักษณะประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มี ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะวรรณ โตเลี้ยง
  • รุ่งโรจน์ สงสระบุญ
  • พิจิตร เอี่ยมโสภณา
  • จิตระวี ทองเถา

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทาการตลาด, พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ, อาหารเสริม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ที่ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบบังเอิญ (Accidental sampling)เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 - 30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพทำงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 10,000 - 20,000 บาทโดยเหตุผลในการตัดสินใจซื้ออาหารเสริม คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีการใช้บริการอาทิตย์ละ 2 - 3 ครั้ง ช่วงเวลาที่ตัดสินใจซื้อ คือ เวลา 16.00 น. -17.00 น. นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือด้านลักษณะทางกายภาพ รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์และบริการ และด้านบุคลากรที่ให้บริการน้อยที่สุด ส่วนการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

Acharya, Ch. & Elliott, G. (2021) Consumer Ethnocentrism, Perceived Product Quality and Choice-An Empirical Investigation. Journal of International Consumer Marketing, 15, 87-115.

Carpenter , J. M., Moore , M., Alexander, N. & Doherty, A. M. (2021). Consumer demographics, ethnocentrism, cultural values, and acculturation to the global consumer culture: A retail perspective. Journal of Marketing Management, 29, 271-291.

Cumberland, F., Solgaard, H. S. & Nikodemska-Wolowik, A. M. (2020). The Effects of Consumer Ethnocentrism and Country of Origin on Polish Consumers' Evaluation of Foreign Manufactured Products. Journal of East-West Business, 16, 231-252.

Erdogan, B. Z. & Uzkurt, C. (2021). Effects of ethnocentric tendency on consumers' perception of product attitudes for foreign and domestic products. Cross Cultural Management: An International Journal, 17, 393-406.

Josiassen, A., Assaf, G. & Karpen, I. O. (2021). Consumer ethnocentrism and willingness to buy: Analyzing the role of three demographic consumer characteristics. International Marketing Review, 28, 627-646.

Kaynak, E. & Kara, A. (2002). Consumer perceptions of foreign products: An analysis of product-country images and ethnocentrism. European Journal of Marketing, 36, 928-949.

Kotler, Philip. 2000. Marketing Management. 10th ed. New Jersey: Prentice – Hall, Inc.

Pecotich, A. & Rosenthal, M. J. (2001) Country of Origin, Quality, Brand and Consumer Ethnocentrism. Journal of Global Marketing, 15, 31-60.

Sharma, S., Shimp, T. A. & Shin, J. (2022). Consumer ethnocentrism: A test of antecedents and moderators. Journal of the Academy of Marketing Science, 23, 26–37.

Siemieniako, D., Kubacki, K., Glinska, E. & Krot, K. (2011). National and regional ethnocentrism: a case study of beer consumers in Poland. British Food Journal, 113, 404-418.

Watson, J.J. & Wright, K. (2021). Consumer ethnocentrism and attitudes toward domestic and foreign products. European Journal of Marketing, 34, 1149-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21