การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลบูชา ของผู้บริโภคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เอกอนันต์ อินทร์ทอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุชาติ ปรักทยานนท์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การตลาดออนไลน์, วัตถุมงคลบูชา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลเพื่อบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ (Online Marketing Communication) ที่มีต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลเพื่อบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทยและ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสาน โดยใช้การวิจัยเชิง คุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและใช้การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทย จากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และจากการวิจัยเชิงปริมาณด้วย ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การใช้สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารทาง การตลาดออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อความไว้วางใจ การบอกต่อแบบปากต่อปากและการตั้งใจ ซื้อเช่าวัตถุมงคล ความไว้วางใจมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อการบอกต่อแบบปากต่อปาก การตั้งใจสั่งวัตถุมงคลการบอกต่อแบบปากต่อปากมีอิทธิพลทางตรงมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อการตั้งใจสั่งวัตถุมงคล โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล χ2 = 67.10, df = 52, p-value = 0.07753, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, SRMR = 0.016, RMSEA = 0.022, CN = 694.69

References

จํารัส เพชรทับ. (2545). ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังของชาวบ้าน อําเภอสิชล จังหวัด นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2514). พระเครื่อง. พระนคร: กองการพิมพ์ สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล.

ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. (2558). คติความเชื่อและพุทธพาณิชย์ ประวัติศาสตร์ผ่านพระเครื่อง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทพย์ สาริกบุตร. (2509). พุทธาภิเษกพิธี พิธีกรรมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2537). พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ศักดิ์ สุริยัน. (2519). พระกริ่งพระปิดตาที่สําคัญและเครื่องรางของขลัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บํารุงนุกูลกิจ.

สุธน ศรีหิรัญ. (2519). หลวงพ่อสนิท. จักรวาลพระเครื่อง, 2(17), 25-27.

อรรคเดช กฤษณะดิลก. (2546). ปทานุกรมพระเครื่องชุดเบญจภาคี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

Browne, J.A. and Howarth, E. (1977). A Comprehensive Factor Analysis of Personality Questionnaire Items: A Test of Twenty Putative Factor Hypotheses. Multivariate Behavioral Research, 12(4), 339-427.

Chaudhuri, A. and Holbrook, M.B. (2001). The Chain of Effects from Brand Trust and Brand Affect to Brand Performance: The Role of Brand Loyalty. Journal of Marketing, 65(2), 81-93.

Groger, L. and Buttle, F. (2014). Word-of-mouth Marketing Influence on Offline and Online Communications: Evidence from Case Study Research. Journal of Marketing Communications, 20(1), 21-41.

Lee, J., Park, D., and Han, I. (2011). The Different Effects of Online Consumer Reviews on Consumers' Purchase Intentions Depending on Trust in Online Shopping Malls: An Advertising Perspective. Internet Research, 21(2), 187-206.

Reza Jalilvand, M. and Samiei, N. (2012). The Effect of Electronic Word of Mouth on Brand Image and Purchase Intention: An Empirical Study in the Automobile Industry in Iran. Marketing Intelligence & Planning, 30(4), 460-476.

Toor, A., Husnain, M., and Hussain, T. (2017). The Impact of Social Network Marketing on Consumer Purchase Intention in Pakistan: Consumer Engagement as a Mediator. Asian Journal of Business and Accounting, 10(1), 167-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29